การวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลวสำหรับประเมินความเสี่ยงการเกิดฝุ่นระเบิดในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีรูปแบบการศึกษาจุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงโดยบูรณาการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลวและการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นการเกิดฝุ่นระเบิดในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ประเมินความเสี่ยงใช้เทคนิคชี้บ่งอันตรายด้วยวิธีการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลวและวิเคราะห์สาเหตุจนกระทั่งถึงสาเหตุพื้นฐานการเกิดเหตุการณ์และนำการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นมาประยุกต์เพื่อหาน้ำหนักความสำคัญของสาเหตุพื้นฐาน ผลประเมินความเสี่ยง พบว่า เครื่องจักรและอุปกรณ์ควบคุมการผลิตแป้งมันสำปะหลังมีความเสี่ยงสูง 6 เหตุการณ์ คือ 1) สลิงเกอร์ใบตีแตก 2) แป้งค้างท่อหน้าสลิงเกอร์ 3) มอเตอร์ไหม้บริเวณสลิงเกอร์ 4) มอเตอร์ไหม้บริเวณสกรูปลั๊ก 5) น้ำมันเตารั่วบริเวณหม้อต้มความร้อนและ 6) แก๊สเชื้อเพลิงรั่วบริเวณหม้อต้มความร้อนและมี 6 เหตุการณ์ความเสี่ยงปานกลาง คือ 1) อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิการอบแห้งล้มเหลว 2) แป้งไม่ลง Hopper Bin 3) มอเตอร์ไหม้บริเวณพัดลมดูดอากาศ 4) แป้งบล็อกบริเวณสกรูปลั๊ก 5) อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิหม้อต้มความร้อนล้มเหลว และ 6) มอเตอร์ไหม้บริเวณหม้อต้มความร้อน วิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงการเกิดฝุ่นระเบิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ต้องลดและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้เพื่อป้องกันการเกิดฝุ่นระเบิดอันจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2543). ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2563, จากhttps://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=laws&tabid=1&secid=4
พิมพ์พา บัวพิมพ์ และอารุณ เกตุสาคร. (2562). การประเมินความเสี่ยงโดยกระบวนการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลวและกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 1-16.
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2562). อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง, สืบค้นวันที่ 23 เมษายน 2562, จาก https://www.tapiocathai.org/E4.html
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2554). โรงงานแป้งมันระเบิดที่ จ. ชัยภูมิ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3มกราคม 2563, จาก http://www.shawpat.or.th/index.php?option=com
สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2553). คู่มือการจัดการความปลอดภัยโรงงานที่มีฝุ่นระเบิดได้. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ธวิพัฒน์ จำกัด.
สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ธวิพัฒน์ จำกัด.
สิริวิมล ชื่นบาล และนันทิยา หาญศุภลักษณ์. (2555). การชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Fault Tree Analysis และการประเมินความเสี่ยงภายในท่ออบแห้งในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง. วารสารวิศวกรรมสาร มก. ปีที่ 25 ฉบับที่ 80 (เมษายน - มิถุนายน 2555), หน้า 39-50.
อรอุรา วิเชียร และระพี กาญจนะ. (2556). การประยุกต์ใช้เทคนิค Fault Tree Analysis (FTA) กรณีศึกษากระบวนการปั๊มโลหะ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2556), หน้า 1-11.
อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์ (2555). การวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว: เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากงาน. วารสาร มฉก.วิชาการ 167 ปีที่ 15 ฉบับที่ 30, มกราคม - มิถุนายน 2555.
Cheliyan, A.S. and Bhattacharyya, S.K., 2018, Fuzzy fault tree analysis of oil and gas leakage in subsea production systems, Journal of ocean engineering and science 3, 38-48.
Dobashi, R., 2017, Studies on accidental gas and dust explosions, Fire safety journal 91, 21-27.
Eckhoff, R.K., 2005, Current status and expected future trends in dust explosion a research, Journal of Loss Prevention in the Process Industries, 18, 225-237.
Grosshans, H. and Papalexandris, M.V., 2016, Evaluation of the parameters influencing electrostatic chargingof powder in pipe flow, Journal of Loss Prevention in the Process Industries, 43, 83-91.
Hosseinzadeh, S., Norman, F., Verplaetsen, F., Berghmans, J. and Bulck, E.V., 2015, Minimum ignition energy of mixture of combustible dust, Journal of Loss Prevention in the Process Industries, 36, 92-97.
Hyun, K.C., Min, S., Choi, H., Park, J. and Lee, I.M., 2015, Risk Analysis using fault-tree analysis (FTA) and analytic hierarchy process (AHP) applicable to shield TBM tunnels, Tunnelling and Underground Space Technology, Vol.49, pp.121-129
Lavasani, S.M., Ramzali, N., Sabzalipour, F. and Akyuz, E., 2015, Utilisation of Fuzzy Fault Tree Analysis (FFTA) for quantified risk analysis of leakage in abandoned oil and natural-gas wells, Ocean engineering 108, 729-737.
Nifuku, M. and Katoh, H., 2003, A study on the static electrification of powder during pneumatic transportation and the ignition of dust cloud, Powder technology 135-136, 234-242.
Saaty, T., 1995, Decision Making with Dependence and Feedback: The Analytic Network Process, USA: RWS Publications, Pittsburgh
Shi, S., Jiang, B. and Meng, X., 2018, Assessment of gas and dust explosion in coal mines by means of fuzzyfault tree analysis. International journal of mining science and technology 28, 991-998.
U.S. Chemical Safety and Hazard Investigation Board., 2019, Combustible dust safety, Available Source: https://www.csb.gov/recommendations/mostwanted/combustibledust/ July 16, 2019.