คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บปวดทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในกลุ่มแรงงานผลิตสิ่งทอ จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

วิพา ชุปวา

บทคัดย่อ

การศึกษาภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บปวดโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ ของกลุ่มแรงงานผลิตสิ่งทอ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จาก 13 หมู่บ้าน จำนวน 292 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแรงงานสิ่งทอส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีรายได้เฉลี่ยจากการผลิตสิ่งทอต่อเดือนต่ำกว่า 3,000 บาท กลุ่มแรงงานผลิตสิ่งทอส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจร่างกายประจำปี  โดยมีประวัติการเจ็บป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคทางระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ  ส่วนใหญ่มีลักษณะรับงานมาทำที่บ้าน ซึ่งไม่ได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสิ่งทอ รวมไปถึงการไม่ได้รับสิทธิ/สวัสดิการด้านสุขภาพ  ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บปวดระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อของกลุ่มแรงงานผลิตสิ่งทอ  ได้แก่ ประสบการณ์การทำงาน ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความรู้สึกท้อแท้ต่อการประกอบอาชีพผลิตสิ่งทอ คุณภาพชีวิตทางกาย และคุณภาพชีวิตทางสังคม  ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านการทำงานในการประกอบอาชีพ เพื่อลดความเสี่ยงในการเจ็บปวดโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมทั้งจัดให้มีสวัสดิการด้านสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบอาชีพผลิตสิ่งทอ อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2561). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี
2561.นนทบุรี: กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.
กิตติ อินทรานน์. (2553). การยศาสตร์ (Ergonomics).พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ประกายน้ำ มากศรี, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2561). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า. พยาบาลวารสาร. 45(4), 71-83.
สงวน ธานี, สมจิตต์ ลุประสงค์, ยมนา ชนะนิล และรวีวรรณ เผ่ากัณหา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของสตรีทอผ้าในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4): 177-185.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, ธวัชชัย คำป้อง และวรวรรณ ภูชาดา. (2560). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1): 99-111.
สุวิทย์ อินนามมา. (2553) แรงงานนอกระบบ : วิถีชีวิตการทำงาน การดูแลสุขภาพและสังคม กรณีศึกษากลุ่มเย็บผ้า ตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือจังหวัดหนองเรือ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 4: 379-92.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2541). แบบวัดคุณภาพชีวิต
ชีวิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Ahmed, S., & Raihan, M. Z. (2014). Health status of the female workers in the garment sector of Bangladesh. Journal of the Faculty of Economics and Administrative Sciences, 4(1), 43-58.
Chalklieng, S., Suggaravetsiri, P., & Puntumetakul, R. (2014). Prevalence and risk factors for work- related shoulder pain among informal garment workers in the northeast of Thailand. Small Enterprise Research, 21(2), 180-189.
Chanprasit, C. Jongrungrotsakul, W., Kaewthummanukul, T., & Songkham, W. (2018). Situation of occupational and environmental health among garment workers: An analysis of community enterprise. Thai Journal of Nursing Council, 33(1), 61-73.
Khan NR, Dipti TR, Ferdousi SK, Hossain MZ, Ferdousi S, Sony SA..., Islam MS. Occupational health hazards among workers of garment factors in Dhaka city, Bangladesh. JDMC 2015; 24(1),36-43.
Nasim K., Abbas M., Majid A. and Ghodratollah R. (2016). Evaluation of Related Risk Factor in
Number of Musculoskeletal Disorders Among Carpet Weavers in Iran. Safety and Health at work. 7, 232-325.