การตรวจสอบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่ต้นทางสำหรับเทศบาลในจังหวัด ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบประยุกต์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การตรวจสอบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่ต้นทางสำหรับเทศบาลในจังหวัดระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ หน่วยงานเทศบาล ผู้นำภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ และตัวแทนประชาชน อย่างน้อย กลุ่มละ 3 คน จำนวน 8 เทศบาล รวมทั้งสิ้น อย่างน้อย 72 คน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบตรวจรายการ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการศึกษา พบว่า 1) การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่ต้นทางของเทศบาล ที่มีการดำเนินการมากที่สุด คือ จัดหาที่ถังขยะให้เพียงพอ (ร้อยละ 96.0) ส่วนการจัดการที่น้อยที่สุด คือ ผู้ผลิตสินค้า ร้านค้าปลีกที่ก่อให้เกิดขยะจ่ายค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนการคัดแยกขยะมูลฝอย (ร้อยละ 30.7) 2) การตรวจสอบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่ต้นทางของเทศบาล พบว่า มีการตรวจสอบมากที่สุดโดยประชาชนแจ้งเทศบาล (ร้อยละ 55.6) สภาพปัญหาที่ตรวจสอบพบมากที่สุด คือ การลักลอบทิ้งขยะ (เขตรอยต่อ) (ร้อยละ 66.7) การจัดการสภาพปัญหาที่ตรวจสอบพบมากที่สุด คือ ป้ายเตือนการลักลอบทิ้งขยะ (ร้อยละ 33.3) ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการพัฒนาระบบการตรวจสอบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่ต้นทาง เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
2. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2553). คู่มือการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีการจัดการขยะมูลฝอย สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.นนทบุรี: กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ.
3. จรูญ ชิดนายี. (2550). ภาวะสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. การค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. ธเรศ ศรีสถิต. (2559). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบครบวงจร. กรุงเทพมหานคร: วินเซอร์ สวีทส์ แอนด์ คอนเวนชั่น.
5. พีรยา วัชโรทัย. (2556). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการ
สิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
6. ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2553). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยบริเวณชุมชนตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันวิจัยและพัฒนา.
7. ปนัดดา ภู่เจริญศิลป์ เยาวลักษณ์ อภิชาตวัลลภ และดุษฎี อายุวัฒน์. (2555). การจัดการความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนชายแดนไทยลาว. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12(4), 147-160.
8. ปิยชาติ ศิลปะสุวรรณ. (2557). ขยะมูลฝอยชุมชน ปัญหาใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญ. วารสารสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 4(7), 1-4.
9. ราชกิจจานุเบกษา. (2557). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2557. เล่มที่ 131 ตอนพิเศษ 189 ง ลงวันที่ 25 กันยายน 2557.
10. วชิรวิชญ์ วรชิษณุพงศ์. (2560). รูปแบบการจัดการขยะชุมชนในเทศบาลตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาวจังหวัดเชียงราย. เอกสารนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม.มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1262-1271.
11. วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 11(2), 76-89.
12. ศุภรินทร์ อนุตธโต มานะชัย รอดชื่น และธนียา เจติยานุกรกุล. (2558). รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเทศบาลตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร MFU Connexion. 6(1), 53-77.
13. ศิริพรรณ ศิรสุกุล. (2554). ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ กรณีศึกษา: เทศบาลในจังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
14. สมัญญา หนูทอง. (2556). ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้นำท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
15. สุพรรษา พาหาสิงค์ และสัมพันธ์ พลภักดิ์. (2561). การบริหารจัดการด้านการจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ขององค์กรปกครองส่วนตำบลหนองแหน อำเภอพนมมหาสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 4(1), 132-142.
16. สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2559). ECC เร่งวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม ลดวิกฤตขยะและน้ำเสีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก.
17. สำนักงานคณะกรรมการวิจัย. (2555). ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัย.
18. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2558). รายงานการตรวจสอบการดำเนินงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน.
19. Cohristopher, L. (2010). Solid Waste Management in Singapore. 2nd Regional 3R Forum in Asia Kuala Lumpur, Malaysia 4 – 6 October 2010.
20. Dennis, V. P. (2013). Strategic environmental assessment policy integration model for solid waste management in Malaysia. Environmental Science & Policy. 33, 233-245.
21. Latifah, A. M., Mohd, A. A., Samah, Nur, I., & Mohd, Z. (2009). Municipal solid waste management in Malaysia: Practices and challenges. Waste Management. 29(11), 2902-2906.
22. Mei, C., Xin, Q. & Longjiang, Z. (2014). Public Participation in Environmental Management in China: Status Quo and Mode Innovation. Environ Manage. 55(3), 523-35.
23. Ministry of the Environment. (2014). History and Current State of Waste Management in Japan.Tokyo: Japan Environmental Sanitary Center.
24. Ying, C. M. & Latifah, A. M. (2016). Solid waste management transformation and future challenges of source separation and recycling practice in Malaysia. Resources, Conservation and Recycling, 116, 1-14.
25. Ying, Y. L. (2015). Household Waste Management and Resource Recycling in Taiwan. 2015 International Conference on Waste Management, Taiwan.