ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ฤทธิรงค์ พันธ์ดี

บทคัดย่อ

         การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรม และการเกิดอุบัติเหตุ 2) เปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และหลักสูตร (สายวิทย์-คณิต กับสายศิลป์ภาษา) 3)ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 323 คน โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม


         ผลการศึกษา พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีอายุเฉลี่ย 16.98 ปี เรียนสายวิทย์-คณิต 169 คน และสายศิลป์ภาษา154 คน ใช้รถจักรยายนต์เดินทางไปโรงเรียน ร้อยละ 45.2  เป็นผู้ขับขี่รถจักยายนต์ ร้อยละ 65 ผู้โดยสารร้อยละ 35 ค่าเฉลี่ยประสบการขับขี่รถจักรยายนต์ 2.92 ปี การเปรียบเทียบผลรวมคะแนนพฤติกรรมพบว่ามีคะแนนด้านการขับขี่รถจักรยานยนต์เฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p-Value 0.027) ซึ่งคู่ที่แตกต่างกันคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์แตกต่างไปจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ 2.020 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการขับขี่กับนักเรียนแผนการเรียนสายวิทย์-คณิต และสายศิลป์ภาษา พบว่าคะแนนทัศนคติด้านการขับขี่รถจักรยานยนต์เฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p-Value 0.002 และ < 0.0001) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ คือ สาเหตุของการประสบอุบัติเหตุชนสัตว์ หรือชนกันเอง (OR=61.67, p-Value<0.0001) ลักษณะพื้นผิวถนนที่ขับขี่เป็นประจำเรียบ(OR=3.70, p-Value=0.033) สภาพการจราจรรถบรรทุกสัญจรมาก (OR=2.39, p-Value=0.022) สภาพของสัญญาณไฟจราจรใช้งานไม่ได้บางครั้ง(OR=2.03, p-Value=0.040) พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์พฤติกรรมเสี่ยง(OR=2.06, p-Value=0.050)


         จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าควรมีการรณรงค์ให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องของกฎหมายการจราจร และจัดกิจกรรมให้นักเรียนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตระหนักถึงความอันตราย และวิธีการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. องค์การอนามัยโลก. สรุปรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2015/GSRRS2015_Summary_Thai.pdf
2. สํานักงานนโยบายและแผนการขนสงและจราจร สํานักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2561-07/25610726-analyze.pdf
3. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13011&gid=18
4. สํานักงานนโยบายและแผนการขนสงและจราจร สํานักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2561-07/25610726-analyze.pdf
5. สุเมธ กนกเหมพันธ์ วุฒิพงศ์ คงทอง และคนึงนุช แจ้งพรมมา. พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนวัยรุ่นโรงเรียนธรรมโฆสิต อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. (2552). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : https://www.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121832
6. ข้อมูลสถิติการใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ปี 2561. ข้อมูลการบาดเจ็บจังหวัดตาก อำเภอแม่สอด. 2561. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thairsc.com/p77/index/63
7. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช. การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดสระบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. 2536 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/38716
8. สุรชัย เจียมกูล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในกลุ่มอายุ 15-24 ปี จังหวัดตราด. [อินเทอร์เน็ต]. 2537. [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/thesis/scan/32443.pdf
9. สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพจนานุกรมฉบบับราชบัณฑิตยสถาน. อุบัติเหตุ. [อินเทอร์เน็ต]. 2544. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://www.royin.go.th/?knowledges=อุบัติเหตุ-อุปทวเหตุ-อุ
10. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๘ / เรื่องที่ ๗ อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล. การศึกษาอุบัติเหตุ. [อินเทอร์เน็ต]. 2526. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=8&chap=7&page=t8-7-infodetail02.html
11. อานนท์ สีดาเพ็ง. การป้องกันอุบัติเหตุ. [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://www.libarts.mju.ac.th/LibDocument/EBook/013/บทที่9การป้องกันอุบัติเหตุ.pdf
12. เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ และชัยยะ พงษ์พานิช. 2533. ความปลอดภัยในการทำงาน: ในเอกสาร การสอนชุดชีวอนามัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
13. ณรงค์ ณ เชียงใหม่. 2537. การจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
14. เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา. 2540. “ระบาดวิทยาการบาดเจ็บ”, ในเวชศาสตร์ชุมชน, หน้า 69-104.
15. ถวัลย์ เบญจวัง, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขนครินทร์.
16. สาธิต อินตา. 2546. ความคิดเห็นของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่ยานพาหะต่อการเกิด
อุบัติเหตุศึกษากรณีในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
17. เกรียงศักดิ์ กองพลพรหม. [อินเทอร์เน็ต]. 2537. [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/49932401/chapter2.pdf
18. พระราชบัญญัติ จราจรทางบก. [อินเทอร์เน็ต]. 2522. [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A803/%A803-20-9999-update.htm
19. Honda-safety. หลักพื้นฐานการขับขี่ปลอดภัย 10 ประการ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : https://www.aphonda.co.th/hondasafetythailand/th/honda-safety-base.ashx#
20. TheSisAvenue.com. ความหมายและโมเดลของทัศนคติ. [อินเทอร์เน็ต]. 2551. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/atttitude.html
21. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยบูรพา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/53930145/chapter2.pdf
22. สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพจนานุกรมฉบบับราชบัณฑิตยสถาน. พฤติกรรม. [อินเทอร์เน็ต]. 2544. [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://www.royin.go.th/?knowledges=พฤติกรรม-กับ-พฤติการณ์-๙
23. http://www.yala.ac.th. พฤติกรรม. [อินเทอร์เน็ต]. 2522. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://www.yala.ac.th/download/noonoh/center/491209016/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202.pdf
24. คลังความรู้ SciMath. พฤติกรรม. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://www.scimath.org/lesson-biology/item/7001-behavior-7001
25. http://occupational-h.blogspot.com. ทฤษฎีการเกิดอุบัติเหตุ. [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://occupational-h.blogspot.com/2016/10/blog-post_48.html
26. จิตวิทยาการศึกษา. ทฤษฎีของพฤติกรรมนิยม.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/psychologymcu5/citwithya-kar-reiyn-ru/2-5-thvsdi-kar-reiyn-ru/2-5-1-thvsti-phvtikrrm-niym
27. สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพจนานุกรมฉบบับราชบัณฑิตยสถาน. ความรู้. [อินเทอร์เน็ต]. 2542. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://www.royin.go.th/?knowledges=body-of-knowledge-knowledge-knowledge-management-km
28. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ความรู้ .[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89
29. วิทยานิพนธ์ ปวีณาวงษ์ ชะอุ่ม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนิสิตภาคปกติมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. 2557. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/55930253
30. พ.ต.ต.วชิระ พญาน้อย. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. 2540. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/07089/bibliography.pdf
31. สุเมธ กนกเหมพันธ์ วุฒิพงศ์ คงทอง และคนึงนุช แจ้งพรมมา. พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนวัยรุ่นโรงเรียนธรรมโฆสิต อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. (2552). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : https://www.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121832
32. จิรวรรณ เรืองเพ็ง และ สันชัย อินทพิชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. 2551. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=52&RecId=27446&obj_id=194149&showmenu=no&userid=0
33. กาญจน์กรอง สุอังคะ. การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิด อุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์. 2559. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/288578
34. อาจารย์พงษ์สิทธิ บุญรักษา และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 2555. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : https://core.ac.uk/download/pdf/70944286.pdf
34. นายนพวุฒิ ชื่นบาล และคณะ. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในพื้นที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. 2556. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://trsl.thairoads.org/FileUpLoad/1312/140608001312.pdf