พฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

นัชชา ยันติ
อภิญญา อุตระชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยใช้สถิติไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า ระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างส่วนมากอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 46.5 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางจำนวน คิดเป็นร้อยละ 40.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ได้แก่ รายได้ คณะ ลักษณะที่พักอาศัย การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และภาวะน้ำหนักเกิน ผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแนวทางในการส่งเสริมให้นักศึกษามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโรคไม่ติดต่อ สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559 - 2561 (รวม 4 โรค / ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/หัวใจขาดเลือด/หลอดเลือดสมอง/หลอดลมอักเสบ/ถุงลมโป่งพอง). สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2562. จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/ documents-detail php?id=13653&tid=32&gid=1-020
จิรวรรณ บุญมีและธวัชชัย บุญมี. (2557). พฤติกรรมการใช้บริการร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 10(1): 19-33.
ทักษิกา วรินทร์ธร พันธ์วงค์ สุภาภรณ์ และสุภาภรณ์ นันดา. (2561). พฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่น. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 19(3). 121-133.
ทัศนา ศิริโชติ. (2555). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
นรลักขณ์ เอื้อกิจและลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 12(1): 38-48.
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณา อุดมทรัพย์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 28(1): 122-128.
พัชรพร เจริญประชา สุดารัตน์ ศรีมูล เหมหงส์ อ่อนชื่อจิตร และนิรัตน์ฌา เรืองสินทร. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ณ อาคารทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 393-402.
มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (25)3:20-29.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2562. จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสุขภาพFood_ consumption_behavior_of_the_population/2560/รายงานฉบับสมบูรณ์.pdf
สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์. (15)1: 33-41.
Akbari, V., Asayesh, H., Sharififard, F., Qorbani, M., Elahi, A., and Heidarpour, A. Breakfast consumption as a test anxiety predictor among paramedical students. Journal of Nursing and Midwifery Sciences. 7 (1): 47-51.
Audrain-McGovern, J., and Benowitz, NL. (2011). Cigarette Smoking, Nicotine, and Body Weight. Clinical Pharmacology & Therapeutics. 90(1): 164–168.
Cains, S., Blomeley, C., Kollo, M., Rácz, R., & Burdakov, D. (2017). Agrp neuron activity is required for alcohol-induced overeating. Nature communications. 8(1): 1-8.
Chéruel, F., Jarlier M., and Sancho-Garnie, H. (2017). Effect of Cigarette Smoke on Gustatory Sensitivity, Evaluation of the Deficit and of the Recovery Time-Course After Smoking Cessation. Tobacco Induced Diseases. 15(15): DOI 10.1186/s12971-017-0120-4.
Christoph, MJ., An R., and Ellison, B., Correlates of nutrition label use among college students and young adults: a review. Public Health Nutrition,19(12): 2135-48.
Dockray, S., Susman, E. J., & Dorn, L. D. (2009). Depression, Cortisol Reactivity, and Obesity in Childhood and Adolescence. Journal of Adolescent Health. 45(4): 344–350.
Farrell, P., Negin, J., Awoke, M., Thow, A. M., Taua, M., Faumuina, T., ... & Richards, J. (2019). Associations between sociodemographic and behaviour factors, and dietary risk factors for overweight and obesity, in Samoan women. Appetite. 134: 155-161.
Jih J., Mukherjea A., Vittinghoff E., Nguyen TT., Tsoh JY., Fukuoka Y., Bender MS., Tseng W., & Kanaya AM. (2014). Using appropriate body mass index cut points for overweight and obesity among Asian Americans. Prev Med. 65: 1–6.
Nunes, H. E. G., de Andrade Goncalves, E. C., Vieira, J. A. J., & Silva, D. A. S. (2016). Clustering of risk factors for non-communicable diseases among adolescents from southern Brazil. PLoS One, 11(7).
World Health Organization. (2018). Noncommunicable diseases country profiles 2018. Retrieved December 22, 2019, from https://www.who.int/nmh/publications/ncd-profiles-2018/en/
World Health Organization. (2020). Coming of age: Adolescent health. Retrieved March 4, 2020, from https://www.who.int/health-topics/adolescents/coming-of-age-adolescent-health