การรับรู้การเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

ณรงค์ ใจเที่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การรับรู้การเลิกสูบบุหรี่ มาตรการการเลิกสูบบุหรี่ ระดับความรู้ในการสูบบุหรี่ รวมถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนิสิต/นักศึกษาที่สูบบุหรี่ในมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน จำนวน 369 คน


          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย (ร้อยละ74.30) มีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป(ร้อยละ30.90) ศึกษาชั้นปีที่ 4(ร้อยละ46.10)มีรายได้น้อยกว่า 2,000บาท/เดือน (ร้อยละ88.90) ปัจจุบันพักอาศัยหอพักในมหาวิทยาลัย(ร้อยละ93.70) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ19.80)มีประวัติการสูบบุหรี่ (ร้อยละ56.40)โดยปริมาณการสูบ1-5 มวนต่อวัน(ร้อยละ 84.30)รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโทษ/พิษภัยของบุหรี่(ร้อยละ(95.4) สถานบันที่ศึกษามีนโยบายในการเลิกสูบบุหรี่(ร้อยละ97.80) ด้านความรู้ และทัศนคติ เกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในภาคเหนือตอนบน มีความรู้และทัศนคติอยู่ในระดับสูง(ร้อยละ 74.50 และ 50.40)ในส่วนของการรับรู้มีการรับรู้เรื่องการเลิกสูบบุหรี่ในระดับต่ำ(ร้อยละ 59.30) และสถาบันมีการสนับสนุนมาตรการในการเลิกสูบบุหรี่ในระดับปานกลาง(ร้อยละ 76.40) และมีระดับพฤติกรรมในการเลิกสูบบุหรี่ในระดับต่ำ(ร้อยละ 64.80) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่อย่างมีนียสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ ที่อยู่อาศัย โรคประจำตัว ประวัติการสูบบุหรี่ ปริมาณการสูบบุหรี่ ความรู้ในการเลิกสูบบุหรี่ ทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้การเลิกสูบบุหรี่ และมาตรการในการเลิกสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value =.05)


          จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ควรมีการสร้างเสริมสนับสนุนให้การรับรู้เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่มากขึ้น การบังคับใช้มาตรการในการเลิกสูบบุหรี่ตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษาที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุมารีรัตน์ ถาวรจิตร, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ และนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2560). ผลของมาตรการการควบคุมยาสูบโดยสื่อภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ขนาด 85% ต่อการรับรู้และอารมณ์ของกำลังพลกองพันนักเรียน โรงเรียนทหารสื่อสาร.วารสารพยาบาลทหารบก.18(1), 140-147.
ชาริน สุวรรณวงศ์ และ ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2560).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น: การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ.วารสารพฤติกรรมศาสตร์.24(1),63-82.
ณัฐพงศ์ ครองรัตน์และคณะ. (2562).ปจจัยที่มีความสัมพันธกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยแหงหนึ่งในภาคเหนือประเทศไทย.วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 6(1),55-71.
ทักษิณ พิมพภักดิ์, อนันต ไชยกุลวัฒนา และเพ็ญภัคร พื้นผา. (2558).พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผ ูสูบบุหรี่: กรณีศึกษา คลินิกฟาใส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.ศรีนครินทรเวชสาร.30(3),282-291.
พระมงคลธรรมวิธาน,ประสิทธิ์ สระทอง และ จักรี บางประเสริฐ. (2561).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ของวัยรุ่นในเขตการปกครองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.11 (2),2282-2309.
พิชัย บุญมาศรี และ สมจิต แดนสีแก้ว. (2560).การสนับสนุนการเลิกบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน.วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.35 (2),80-88.
ศศิธร ชิดนาย และ วราภรณ์ ยศทวี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ.10(1),83-93.
ศิริรัตน์ สิทธิวงษ์. (2558).อิทธิพลของสื่อสารสาธารณะต่อความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดตราด.วารสารสาธารณสุขศาสตร์.45(1),97-111.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยสูบ. (2555). โทษของบุหรี่ ที่มีผลต่อสุขภาพ และผลกระทบต่อผู้คนรอบข้าง.สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2562. https://www.honestdocs.co/cigarette-effects.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ.(2561).รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562. จาก trc.or.th/th/ศูนย์ข้อมูล/สื่อเผยแพร่/คลังหนังสือ/30-รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. (2562). สสส.จับมือภาคีรณรงค์ “บ้านต้องปลอดควันบุหรี่100%” สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562. จาก https://www.thaihealth.or.th/categories/2/1/70-สำนักข่าวสร้างสุข.
สุนิดา ปรีชาวงษ์ และคณะ. (2557).การทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา.วารสารสุขศึกษา.37(128),15-28.
สุทธนู ศรีไสย์.(2551).ถิติประยุกต์สําหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3.
หน้า 132-133.
อารญา โถวรุ่งเรือง และคณะ. (2558).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ: กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจนครบาล.วารสารพยาบาลตำรวจ.7(2),40-52.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.