การให้ความหมายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สาวิตรี ทยานศิลป์

บทคัดย่อ

เมื่อแนวคิดเรื่องความสุขของประชาชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น ในยุคปัจจุบัน การพัฒนาความสุขของครอบครัวจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการพัฒนาคนในทุกประเทศ ความสุขของครอบครัวสามารถประเมินได้จากหลายตัวชี้วัด และ “ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว” หรือ “Family well-being” เป็นอีกตัวชี้วัดหนึ่งที่มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาคนในประเทศ การวิจัยนี้จึงทำการศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวชาวไทยที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ผ่านการสนทนากลุ่มตัวแทนครอบครัวในกรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน เพื่อค้นหาความหมายและได้ทราบถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยภายใต้สภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยในกรุงเทพมหานครที่สอดคล้องตามบริบทปัจจุบัน และเพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยที่เหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2559). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
จรวยพร สุภาพ. (2552). ครอบครัวไทย ความสุข ความเข้มแข็ง. บทความในการประชุมวิชาการอนามัยครอบครัวแห่งชาติ ครั้งที่ 6 เรื่อง ครอบครัวไทย ความหลากหลายสู่ความสมดุล ความสุข และความเข้มแข็ง. ภาควิชาอนามัยครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.
จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2559). การศึกษาและพัฒนาดัชนี “ครอบครัวอบอุ่น” ของประเทศไทย. ในการประชุมวิชาการด้านครอบครัวแห่งชาติ ประจำปี 2559 เรื่อง การขับเคลื่อนชุมชน สู่วิถีครอบครัวอบอุ่น. สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย.
นิตยา คชภักดี, ศิริกุล อิศรานุรักษ์, รุจา ภู่ไพบูลย์, จิตตินันท์ เดชะคุปต์, อธิวัฒน์ เปล่งสอาด, ผจงจิตต์ พิทักษ์ภากร, สุพัตรา ภู่ธนานุสรณ์, ศิริพรรณ ทองเจิม, ณัฐนารี เอมยงค์, จีรนันท์ ขํานอง, นันทนา แสนสาคร, และจินดาพร พลสูงเนิน. (2544). โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด “ครอบครัวอยู่ดีมีสุข”. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.
บังอร เทพเทียน, ปรินดา ตาสี, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์ และ สุภัทรา อินทร์ไพบูลย์. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับครอบครัวเข้มแข็ง. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 6 (2), 25-38.
พระครูนิภาสธรรมาธิมุต (อําพร ปริมุตฺโต). (2553). การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. (2560). โครงการปรับปรุงดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2563, จาก http://www.nesdc.go.th/more_news.php?offset=0&cid=16&filename=index)
รุจา ภู่ไพบูลย์, ระพีพรรณ คำหอม, ถวัลย์ เนียมทรัพย์, สาวิตรี ทยานศิลป์, ดารุณี จงอุดมการณ์, จิตตินันท์ เดชะคุปต์, จินตนา วัชรสินธุ์, นิทัศน์ ภัทรโยธิน, วรรณี เดียวอิศเรศ, และทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล. (2558). การสังเคราะห์องค์ความรู้: การเปลี่ยนแปลงสถานภาพครอบครัวไทยและแนวทางเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
รุจา ภู่ไพบูลย์, ระพีพรรณ คำหอม, ดารุณี จงอุดมการณ์, จินตนา วัชรสินธุ์, ถวัลย์ เนียมทรัพย์, เดชาวุธ นิตยสุทธิ, สาวิตรี ทยานศิลป์, วรรณี เดียวอิศเรศ, จิตตินันท์ เดชะคุปต์, ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล, อัจฉริยา ปทุมวัน, และนิทัศน์ ภัทรโยธิน. (2562). การศึกษาครอบครัวไทยแบบบูรณาการตามทวงจรชีวิตครอบครัว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และมหาวิทยาลัยมหิดล
วณี ปิ่นประทีป และสุรณี พิพัฒน์โรจนกมล. (2548). รวมตัวชี้วัดเกี่ยวกับความอยู่เย็นเป็นสุข. เอกสารประกอบการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปี 2548. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2561). เศรษฐกิจพอเพียงนำสู่ความสุขของชีวิตอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2563, จาก http://social.nesdb.go.th/social/Portals/0/Documents/เศรษฐกิจพอเพียงนำสู่ความสุขของชีวิตอย่างยั่งยืน.pdf.
Bamroong, A. (1997). Thailand’s development strategies and prospects for the twenty-first century. Working paper No.49. National Economic and Social Development Board Thailand.
Boonchit, W., & Natenu, S. (1998). The eighth National Economic and Social Development Plan and current economic adjustment and indicators for monitoring and evaluation of the eighth Plan. Working paper No.64. National Economic and Social Development Board Thailand.
McKeown, K., Pratschke J., & Haase, T. (2003). Family Well-Being: What Makes A Difference? Study Based on a Representative Sample of Parents & Children in Ireland. Retrieved March 9, 2019.