ประสิทธิผลของการพัฒนาความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ด้วยโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาพแบบบูรณาการในผู้สูงอายุติดบ้าน จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาพแบบบูรณาการในผู้สูงอายุติดบ้าน ทำการศึกษาในกลุ่มทดลองเป็นผู้สูงอายุติดบ้านในตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมเป็นผู้สูงอายุติดบ้านในตำบลหนองรี จำนวน 40 คน การพัฒนาความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันใช้แนวคิดของโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาพแบบบูรณาการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบสอบถามวัดก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาพแบบบูรณาการเป็นระยะเวลา 3 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และ t –test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ก่อนทดลอง (ค่าเฉลี่ย = 9.85, SD = 1.35) หลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ย = 11.43, SD = 1.31) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม (ค่าเฉลี่ย = 9.85, SD = 1.35) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาพแบบบูรณาการมีประสิทธิภาพในการพัฒนาความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุติดบ้านได้
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
นรินทร์รัตน์ เพชรรัตน์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2557). ศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม, วารสารสภาการพยาบาล, 29 (2), 127-140.
พิมพ์ชนก ปานทอง และธนิดา ผาติเสนะ. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร. 9. 24(2): 57-66.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.
รัชนี นามจันทรา. (2553). การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสาร มฉก.วิชาการ. 14(27): 137-150.
สุจิตรา มหาสุข และ ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2561). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฟื้นฟูมือและแขนต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลตำรวจ. 10( 2) : 360-369.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. (2562). Health Data Center. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2562, จากhttps://rbr.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=populationpyramid.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=db4e8d42e1234a7
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2556). สังคมผู้สูงอายุ...กับความท้าทายของการจัดการด้านสุขภาพ การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2562, จาก http://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/12/PB_Elderly-Survey-2556-_Final.pdf
Gavgania, R.M., Poursharifib, H., & Aliasgarzadehcd, A. (2010). Effectiveness of IMB model in improves self-care behavior and HbA1C measure in adults with type2 diabetes in iran-Tabriz. Procedia Social and Behavioral sciences, 5, 1868-1873.