ความชุกการเกิดโรคจากความร้อนเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรเพาะปลูก

Main Article Content

ปฐมฤกษ์ มีสมบัติ
สุนิสา ชายเกลี้ยง
อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์

บทคัดย่อ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่เป็นการเพิ่มขึ้นของระดับอุณหภูมิของโลก ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรที่ทำงานกลางแจ้งมีการเกิดอาการโรคจากความร้อนมากขึ้น ประเทศไทยมีแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมสูง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาพตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุกของการป่วยจากการสัมผัสความร้อนในเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น โดยศึกษาในเกษตรกรเพาะปลูกที่ขึ้นทะเบียนของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น จำนวน  214,211 คน และเข้ารับการรักษาพยาบาล
ที่โรงพยาบาลในจังหวัด ขอนแก่น ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2561 ตามเกณฑ์คัดเข้า  ผลการศึกษาพบว่าระดับความชุกของการเกิดโรคจากความร้อนในเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นสูงที่สุด ซึ่งมีระดับความชุกในรอบ 3 ปี เท่ากับ 13.54 ต่อเกษตรกรแสนคน พบว่าโรคความร้อนที่พบเหมือนกันทั้ง 3 ปี ได้แก่ อาการล้า (ชั่วคราว) และ อาการเป็นลมแดด หากพิจารณาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559-2561 พบว่า โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 51 ปี ส่วนใหญ่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่นอกเขตตามที่อยู่อาศัย โดยพบว่า เกษตรกรที่ป่วยส่วนใหญ่พบว่า อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองขอนแก่น โดยมีพืชที่ปลูก คือ ข้าวและ มันสำปะหลัง จำนวนไร่ในการเพาะปลูก ไม่เกิน 10 ไร่ ซึ่งมีผลผลิตส่วนใหญ่ ไม่เกิน 10 ตัน/ปี หากพิจารณาอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดร่วมกับความชุกการเกิดโรคจากความร้อนในเกษตรกรจะพบว่ามีค่าความชุกเพิ่มสูงขึ้นทุกปีในขณะที่ระดับอุณหภูมิมีค่าเฉลี่ยค่อนข้างคงที่ จากผลข้างต้น สรุปได้ว่าความชุกของการเกิดโรคจากความร้อนในเกษตรกรนั้น มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกปี ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างคงที่ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะทำการศึกษาต่อเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคจากความร้อนในกลุ่มเกษตรเพาะปลูกในอนาคตพร้อมทั้งการศึกษาในเกษตรกรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเต่มีการเกิดโรคและเกษตรกรที่เกิดโรคแต่ไม่เข้ารับการรักษา

Article Details

บท
บทความวิจัย