ผลของการใช้กระบวนการลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยากับการควบคุมความดันโลหิตสูงในคลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลถลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบ ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาและระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลอง ก่อนและภายหลัง การใช้กระบวนการลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา (2) เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาและ ระดับความดันโลหิต ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ภายหลังการใช้กระบวนการลดความคลาดเคลื่อนจากการ สั่งใช้ยา และ (3) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับ โรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุมที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย ภายหลังการใช้กระบวนการลดความคลาดเคลื่อนจากการ สั่งใช้ยาในคลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลถลาง ตัวอย่างี่ศึกษาในการวิจัยกึ่งทดลอง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำานวน 472 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 236 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และตัวอย่าง ที่ศึกษาในการวิจัยเชิงพรรณนา คือ ผู้ป่วยภายหลังทดลอง ที่ไม่สามารถควบคุมได้ตามเป้าหมาย จำานวน 137 คน เป็น กลุ่มทดลอง 71 คน และกลุ่มควบคุม 66 คน ทำาการทดลอง โดยใช้กระบวนการลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา 4 ขั้นตอน และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยกึ่งทดลอง คือ คู่มือการปฏิบัติงานและแบบบันทึก กระบวนการลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา และ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงพรรณนา คือ แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับ โรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมได้ตามเป้าหมาย ภายหลังใช้กระบวนการลดความ คลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิลคอกสันไซน์แรงก์ และการทดสอบแมนน์ วิทนีย์ ยู และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคลาดเคลื่อนจากการสั่ง ใช้ยาในกลุ่มทดลอง ก่อนและภายหลังการใช้กระบวนการ ลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับความดันโลหิต ค่าซิสโตลิกและไดแอสโตลิก ก่อนและภายหลังการใช้ กระบวนการลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาไม่แตกต่างกัน (2) ภายหลังการใช้กระบวนการลดความคลาดเคลื่อนจาก การสั่งใช้ยา ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาและระดับ ความดันโลหิตซิสโตลิกในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับ ความดันโลหิตไดแอสโตลิกไม่แตกต่างกัน และ (3) ผู้ป่วย กลุ่มทดลองที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมาย มีพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อระดับความดันโลหิต สูงของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นด้านการนอนหลับพักผ่อนที่ ไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม อาหารที่มีไขมัน/ คอเลสเตอรอลสูง และการไม่ออกกำาลังกายหรือออกกำาลัง กายไม่สม่ำาเสมอ แต่ในด้านการเสพสิ่งเสพติดหรือของมึนเมา ด้านสุขภาพจิต และด้านการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเมื่อ เจ็บป่วย ผู้ป่วยส่วนมากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่วนผู้ป่วย กลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมสุขภาพเช่นเดียวกับกลุ่มทดลอง แต่ดีกว่ากลุ่มทดลองเล็กน้อย
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.