ความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน ในพื้นที่สำานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์, วท.ม. (ระบาดวิทยา)
สสิธร เทพตระการพร, Ph.D. (Public Health)

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงผสมผสานนี้เก็บข้อมูลโดยวิธีเชิง ปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเชิงปริมาณศึกษาด้วยวิธีเชิง พรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพร้อมด้านการ จัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาล โดยดำาเนินการในปี พ.ศ. 2553 เป็นการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และ เทศบาลตำาบลในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี และปทุมธานี รวม 51 แห่งโดยการสัมภาษณ์ ส่วนวิธีเชิง คุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงปริมาณจากการประเมิน ผลการดำาเนินงานตามแนวทางการจัดการภาวะฉุกเฉินทาง สาธารณสุขของสำานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์สาธารณภัยที่เป็น ปัญหาที่สำาคัญของท้องถิ่น 3 อันดับแรก ได้แก่ อัคคีภัย นำ้าท่วม และอุบัติเหตุจราจร ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาทุกเทศบาล มีการฝึกอบรมจัดทำาแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและฝึกซ้อม แผน ร้อยละ 84.3 ของเทศบาลมีการฝึกอบรมเรื่องสาธารณภัย และสารเคมีและการสื่อสารความเสี่ยง ร้อยละ 82.4 มีการฝึกอบรมเรื่องการกู้ชีพ กู้ภัย นอกจากนี้ยังพบว่าเทศบาลมีความ ต้องการให้จัดอบรมเรื่องการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทาง สาธารณสุข สำาหรับความคิดเห็นด้านความพร้อมในการ ปฏิบัติงานภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขพบว่า มีความพร้อม ตามลำาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ นโยบายด้านการจัดการ ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข แผนรองรับเหตุฉุกเฉิน งบประมาณ สิ่งสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ และด้านบุคลากร มีความพร้อมน้อยที่สุด จากการประเมินการดำาเนินงาน ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขพบว่า เทศบาลยังไม่มี ประสบการณ์การดำาเนินงานในแนวทางการปฏิบัติงานตาม เกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำาหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง การแจ้งเตือนข่าวการเกิดโรค/ภัย การสอบสวนโรค และการ เขียนรายงานการสอบสวนโรค การตระหนักและการมีส่วนร่วม ของประชาชนในเรื่องการเฝ้าระวังเหตุการณ์ โรคและภัย สุขภาพ โดยเฉพาะการเตรียมการป้องกันตนเองยังพบว่าไม่ เพียงพอ นอกจากนี้ การปฏิบัติงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทาง สาธารณสุขในหน่วยงานระดับท้องถิ่นยังขาดความชัดเจน และยังมีความต้องการให้มีการพัฒนาศักยภาพด้านการ ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ รวมไปถึงการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคติดต่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย