ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและขาแบบไอโซไคเนติคกับน้ำหนักมากที่สุดที่ยอมรับได้ในการยกในชายไทย ประเมินโดยวิธีไซโคฟิสิกค

Main Article Content

บุคอรี ปุตสะ
วรรธนะ ชลายนเดชะ, Ph.D.
ชนัตถ์ อาคมานนท์, M.A.

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขา แบบไอโซไคเนติคต่อน้ำาหนักมากที่สุดที่ยอมรับได้ในการยก (MAWOL) และเปรียบเทียบค่า MAWOL ระหว่างกลุ่มคน ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังมากกว่ากล้ามเนื้อขา (BSTL) และกลุ่มคนที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา มากกว่ากล้ามเนื้อหลัง (LSTB) ในชายไทยสุขภาพดีอายุ ระหว่าง 18-30 ปี จำานวน 35 คน วิธีการศึกษา วัดค่าความ แข็งแรงสูงสุด (peak torque) ของกล้ามเนื้อหลังและกล้าม เนื้อขาแบบไอโซไคเนติคด้วยเครื่อง BIODEX®และประเมิน หาน้ำาหนักมากสุดที่ยอมรับได้ในการยกโดยวิธีไซโคฟิสิกค์ ผลการศึกษา พบความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อหลังต่อกล้ามเนื้อขา (r = 0.486, p < 0.05) แต่ไม่ พบความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังต่อ MAWOL และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาต่อ MAWOL (p > 0.05) น้ำาหนักมากสุดที่ยอมรับได้ในการยกของกลุ่ม LSTB มีค่ามากกว่ากลุ่ม BSTL โดยทั้งสองกลุ่มมี MAWOL ที่ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการศึกษา ผู้ที่มีความแข็งแรงของ หลังมาก มีแนวโน้มที่ความแข็งแรงของขามากตามไปด้วย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาไม่สัมพันธ์ ต่อ MAWOL ผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังหรือ ขามาก ไม่จำาเป็นต้องยกน้ำาหนักได้มากเมื่อประเมินด้วยวิธี ไซโคฟิสิกค

Article Details

บท
บทความวิจัย