การประเมินระดับเสียงและสมรรถภาพ การได้ยินของพนักงานโรงงานโม่หินแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

รัตนาภรณ์ เพ็ชรประพันธ์
วันดี ไข่มุกด์, M.D.
ฐิติวร ชูสง, Ph.D.

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางเพื่อศึกษา 1) ระดับความดังเสียงและความถี่เสียงของเครื่องจักรในโรงงาน โม่หิน 2) ระดับเสียงสะสมของพนักงานตามลักษณะงาน และ 3) ความชุกของภาวะประสาทหูเสื่อมโดยดำเนินการตรวจ วัดระดับความดังเสียงและความถี่เสียงของเครื่องจักรใน โรงงานโม่หินแห่งหนึ่งรวมทั้งตรวจวัดปริมาณเสียงสะสมที่ ตัวบุคคลของประชากรทั้งหมด 50 คน พร้อมกับตรวจ สมรรถภาพการได้ยินของกลุ่มตัวอย่างข้างต้น และใช้แบบ ประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อประเมิน ด้านเสียงดังภายในโรงงานโม่หิน


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความดังเสียง และ ความถี่เสียง ของเครื่องจักรในโรงงานโม่หินเล็กและโรงงาน โม่หินใหญ่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน 85 เดซิเบล (เอ) ของ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบ กิจการ พ.ศ. 2553 ในช่วงความถี่ 250-10,000 เฮิรตซ์ 2) ด้านระดับเสียงสะสมของพนักงานโรงงานโม่หินตาม ลักษณะงาน พบว่า พนักงานโรงงานโม่หินสัมผัสเสียงเกิน ค่ามาตรฐาน 85 เดซิเบล (เอ) ร้อยละ 22 โดยลักษณะงาน ที่สัมผัสเสียงเกิน 85 เดซิเบล (เอ) ได้แก่ ลักษณะงานบด และย่อยหิน รองลงมาคือ ลักษณะงานไฟฟ้า ตามลำดับ ส่วนการวัดระดับเสียงกระแทกได้ทำการตรวจวัดตาม ลักษณะงานของพนักงานโรงงานโม่หิน พบว่า พนักงาน โรงงานโม่หินที่มีลักษณะงานสัมผัสความดังสูงสุดของเสียง กระแทก คือ งานไฟฟ้า (147.20 เดซิเบล (พีค)) ในขณะ ที่งานขับรถตัก งานควบคุมเครื่องจักร งานขับรถสิบล้อ งานสำนักงาน งานซ่อมบำรุง งานคุ้ยหินและงานบดและ ย่อยหิน มีค่าระดับเสียงกระแทกอยู่ระหว่าง 134.9-139.54 เดซิเบล (พีค) ซึ่งมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของ OSHA คือ 140 เดซิเบล (พีค) และ 3) ผลการตรวจสมรรถภาพ การได้ยินในพนักงานโรงงานโม่หินโดยใช้เกณฑ์ของสำนัก โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พบว่า มีความ ชุกของการเกิดประสาทหูเสื่อม ร้อยละ 30 โดยพบในแผนกเหมืองหิน แผนกสำนักงาน แผนกบดและย่อยหิน แผนก ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และแผนกซ่อมบำรุง โดยมี พนักงานสัมผัสเสียงมากกว่าหรือเท่ากับ 85 เดซิเบล (เอ) มี ความชุกของภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง ร้อยละ 22 ส่วน การประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านเสียง ภายในโรงโม่หินด้านการระเบิดหิน ด้านเครื่องจักร ด้าน ระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักร และด้านมาตรการควบคุม เสียงผ่านเกณฑ์มาตรฐานของประกาศกรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่เรื่องให้โรงโม่บดและย่อยหินนั้นมี ระบบป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายใต้พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535 ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังภาวะประสาทหูเสื่อมจาก เสียงในพนักงานโรงงานโม่หิน โดยเฉพาะพนักงานที่สัมผัส ความถี่เสียงและเสียงกระแทกที่เกินมาตรฐาน และ การดำเนินโครงการอนุรักษ์การได้ยินในโรงงานโม่หินอย่าง ต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย