การวิจัยเชิงคุณภาพความยากลำาบาก และอุปสรรคต่อการเข้าใจ ข้อมูลฉลากโภชนาการในกลุ่มผู้บริโภคไทย

Main Article Content

Wimalin Rimpeekool, M.Sc.
Cathy Banwell, Ph.D.
Sam-ang Seubsman, Ph.D.
Martyn Kirk, Ph.D.
Vasoontara Yiengprugsawan, Ph.D.
Adrian Sleigh, Ph.D.

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย การปรับปรุงฉลากโภชนาการไทยเป็นไปได้จาำ กัดเนื่องจากการวิจัยความเข้าใจของผู้บริโภคไทยต่อข้อมูลฉลากโภชนาการยังมีไม่เพียงพอ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความยากลำาบาก และอุปสรรคต่อการเข้าใจข้อมูลฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหารทั้งตารางโภชนาการ และแบบจีดีเอ วิธีดำเนินการวิจัย ทำาการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริโภค 34 คน ที่มีลักษณะทางสังคมและประชากรที่ แตกต่างกัน ได้แก่ ระดับมหาวิทยาลัยในจังหวัดกรุงเทพฯ และต่ำกว่าระดับมหาวิทยาลัย ในจังหวัดระนอง โดยบันทึกการสัมภาษณ์ทั้งแบบเสียงและวิดีโอเพื่อเก็บคำพูดท่าทาง บทสนทนาจะถูกนำไปวิเคราะห์โดยโปรแกรมเพื่อจำแนกความถี่ของค่าข้อความ เหตุการณ์ ร่วมหรือแตกต่างกัน ผลการวิจัย งานวิจัยนี้พบความยากลำบากต่อการเข้าใจฉลากโภชนาการมี 4 สาเหตุหลักคือ การรับรู้น้อยเกินไป เคลือบ แคลงความถูกต้องข้อมูล ความสามารถเชิงภาษาและตัวเลขน้อยเกินไป และความรู้ทางโภชนาการไม่เพียงพอ และ อุปสรรคต่อการเข้าใจฉลากโภชนาการมี 5 ลักษณะคือ ความ สับสนต่อฉลาก การซ้ำของคำศัพท์ ตัวอักษรขนาดเล็ก ตำแหน่งฉลากไม่เด่นชัด คำศัพท์เฉพาะทาง แม้จะเป็นปัญหา แต่การมีอยู่ของฉลากโภชนาการสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือ ของผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภคได้ สรุปและข้อเสนอแนะการวิจัย งานวิจัยนี้ได้เสนอแนะแนวทางปรับปรุงฉลากทั้งแบบ ตารางและจีดีเอ เพื่อการออกแบบฉลากที่ดีขึ้น ระบุแนวทาง การส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการ เพื่อส่งเสริมผู้บริโภค สามารถเข้าใจข้อมูลฉลากโภชนาการได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย