ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของแรงงานหญิง ในโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

คำหล้า ภูมิมณี, วท.ม. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
อนามัย เทศกะทึก, Ph.D. (Tropical Medicine)
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, Ph.D. (Medical Science)
สงวน ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว ปัจจัยด้านจิตสังคมในการทำงานกับความเครียดของแรงงาน หญิงในโรงงานตัดเย็บในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลและ ครอบครัว จำนวน 7 ข้อ 2) ปัจจัยด้านจิตสังคมในการทำงาน (แบบวัดคุณภาพในการทำงาน) ความเที่ยง เท่ากับ 0.87 ประกอบด้วย 6 ด้าน จำนวน 54 ข้อ 3) แบบวัดความเครียด สวนปรุง ความเที่ยง เท่ากับ 0.90 จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสถิติไคสแควร์และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดของแรงงานหญิง กลุ่มตัวอย่างเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง gif.latex?\bar{x} = 38.1 (S.D. = 10.1) ซึ่งส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 63.0) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและ ครอบครัว ได้แก่ สถานภาพสมรส (gif.latex?\inline&space;p-value = 0.049) ภาระ หนี้สิน (gif.latex?\inline&space;p-value = 0.013) ภาระรับผิดชอบในครอบครัว (gif.latex?\inline&space;p-value = 0.020) และจำนวนสมาชิกในครอบครัว (gif.latex?\inline&space;p-value = 0.003) มีความสัมพันธ์กับความเครียดกับ แรงงานหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยด้านจิตสังคม ในการทำงาน ได้แก่ ด้านความมั่นคงในหน้าที่การงาน (r = -0.125, gif.latex?\inline&space;p-value = 0.005) ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ ควรกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน ควรมีการ จัดฝึกอบรมให้แก่แรงงานหญิงให้เข้าใจวิธีการทำงานเพื่อเพิ่มศักยภาพของการทำงาน และโอกาสความ ก้าวหน้าในอาชีพการทำงานอย่างต่อเนื่อง เน้นการจัดการ ที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างกับลูกจ้างไม่ให้ต่ำกว่าอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ และสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย