เปรียบเทียบการรับสัมผัสสารเบนซีนและ ผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพริมถนน ในเขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง

Main Article Content

ฌาน ปัทมะ พลยง, วท.ม.
อนามัย เทศกะทึก, Ph.D. (Tropical Medicine)
นันทพร ภัทรพุทธ, Ph.D.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการรับ สัมผัสสารเบนซีนและผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ประกอบ อาชีพริมถนนในเขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือ 3 ส่วนคือ 1) แบบสัมภาษณ์ ได้ผ่านการ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านพิษวิทยา จำนวน 3 ท่าน มีผลของการทดสอบความเที่ยงแบบสอบถามอาการ ทางสุขภาพ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.947 2) เครื่องมือเก็บความเข้มข้นสารเบนซีนในอากาศจาก สถานีตรวจวัด และ 3) เครื่องลิควิดโครมาโตกราฟสมรรถนะ สูง (HPLC) ใช้การวิเคราะห์ระดับกรดมิวโคนิก เป็นดัชนี ชี้วัดทางชีวภาพของการรับสัมผัสสารเบนซีนระดับสูง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย กลุ่มที่ได้รับ สัมผัสสารเบนซีนจากการประกอบอาชีพริมถนน จำนวน 80 คน คือ พนักงานเติมน้ำมัน คนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ตำรวจจราจร แม่ค้าปิ้งย่าง และกลุ่มเจ้าหน้าที่สำนักงาน จำนวน 20 คน ที่ไม่ได้รับสัมผัสสารเบนซีนเป็นกลุ่ม เปรียบเทียบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา Repeated Measures Analysis of Variance (ANOVA) และ One-way ANOVA


ผลการศึกษาพบว่า สองในสามของกลุ่มตัวอย่างเป็น เพศชาย อายุเฉลี่ย 38.38 gif.latex?\pm10.39 ปี อาศัยอยู่ใกล้ถนน สุขุมวิทสายหลักของการจราจร (38%) ทำงานเฉลี่ย 7-8 ชั่วโมง/วัน (เฉลี่ย 46.02 ชั่วโมง/สัปดาห์) ไม่ใช้อุปกรณ์ ป้องกันระบบทางเดินหายใจส่วนบุคคลระหว่างทำงาน (73.7%) สูบบุหรี่ (17%) ในขณะที่มีผู้ได้รับสัมผัสควันบุหรี่ จากบุคคลอื่น (57%) ความเข้มข้นเฉลี่ยต่อวันของสาร เบนซีนในอากาศ เท่ากับ 10.93 gif.latex?\pm 10.50 µg/m3 ความเข้มข้น เฉลี่ยกรดมิวโคนิกในปัสสาวะหลังเลิกงานของกลุ่มที่รับสัมผัส (พนักงานเติมน้ำมัน คนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ตำรวจจราจร แม่ค้าปิ้งย่าง) เท่ากับ 115.26 gif.latex?\pm142.64, 40.56 gif.latex?\pm52.15, 46.12 gif.latex?\pm93.83 และ 32.42 gif.latex?\pm59.31 mg/g Cr ตามลำดับ ความเข้มข้นเฉลี่ยของกลุ่มเจ้าหน้าที่ สำนักงาน เท่ากับ 5.50 gif.latex?\pm22.54 µmg/g Cr เปรียบเทียบ ระดับกรดมิวโคนิกในปัสสาวะ 3 ครั้งพบว่า มีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\inline&space;p < 0.05) ระดับที่พบในกลุ่ม พนักงานเติมน้ำมันและคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างมีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\inline&space;p = 0.002 และ gif.latex?\inline&space;p = 0.008 ตามลำดับ) กลุ่มที่รับสัมผัสมีอาการปวดศีรษะ (67.5%) และเวียนศีรษะ (61.2%) ข้อแนะนำบุคคลที่ประกอบอาชีพเหล่านี้ ควรสวมใส่ อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจส่วนบุคคลให้ถูกชนิด เพื่อลดการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากการประกอบ อาชีพ และควรได้รับการติดตามตรวจระดับกรดมิวโคนิกใน ปัสสาวะทุกปี

Article Details

บท
บทความวิจัย