การบาดเจ็บและอาการทางระบบโครงร่าง กล้ามเนื้อและกระดูก อันเนื่องมาจากการทำางานของเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพสวนปาล์ม เขตพื้นที่ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

Main Article Content

อนุวัฒน์ อัคคีสุวรรณ์, วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
นุจรีย์ แซ่จิว, ปร.ด. (สาธารณสุขศาสตร์)
จำานงค์ ธนะภพ, ปร.ด. (ระบาดวิทยา)
จันจิรา มหาบุญ, Ph.D. (Aviation)

บทคัดย่อ

กิจกรรมการตัดปาล์ม เป็นงานที่ต้องสัมผัสความเสี่ยงจากท่าทางการทำงาน เช่น ความเสี่ยงจากการเคียว การแทง หรือการยกทลายปาล์ม กิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อย หรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอีกทั้งความเสี่ยงจากการทำงานด้วยอุปกรณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักรที่มีคม เช่น เสียม หรือเคียว อีกทั้งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุขณะทำงาน เช่น การลื่นล้มขณะที่ยก หรือขนทลายปาล์ม การโดนหนามปาล์มทิ่มตำหรือแทงอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดบนร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของกลุ่มอาการทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งพบการรายงานของอเมริกาว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก สาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การทำงานที่ต้องเดินอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวช้า ๆ การพยายามออกแรง การทำงานด้วยท่าทางที่ไม่เป็นอิสระ การบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำงานและโรคจากการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะการบาดเจ็บและอาการทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูก เพื่อสำรวจปัจจัยทางการยศาสตร์และการประเมินท่าทางการทำงานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการตัดปาล์มของกลุ่มคนงานที่รับจ้างตัดปาล์ม รวมถึงเกษตรกรผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในขั้นตอนการตัดปาล์ม ในเขตพื้นที่ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ แบบสอบถามผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน คำนวณค่า IOC อยู่ที่ 0.75 โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบประเมิน ซึ่งแบ่งข้อมูลได้เป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการทำงาน และการประเมินท่าทางการทำงานด้วยเทคนิค REBA โดยเลือกประชากร 3 หมู่บ้าน จำนวน 171 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้า ด้วยวิธีทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาวิจัย จำนวน 120 คน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางการยศาสตร์ที่ส่งผลต่ออาการทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูก คือ การ ออกแรงมาก ๆ การก้ม ๆ เงย ๆ และการเอี้ยวคอ/ตัว ส่วนท่าทางที่มีความเสี่ยง คือ การกำนิ้วมือ การเอี้ยว/บิดตัว ทั้งนี้ยังพบความเสี่ยงสูงจากการหมุนคอ/เงยหน้า ในคนงานที่เคียวปาล์ม และความเสี่ยงสูงจากการงอแขนยกทลาย สำหรับอาการทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูก พบอาการปวดเมื่อยทุกส่วนของร่างกาย ส่วนคนงานที่เคียวทลายปาล์ม มีอาการปวดบริเวณคอ สำหรับคนที่ขนทาง/เก็บลูกร่วง มีอาการปวดหลังส่วนล่างและปวดเมื่อยบริเวณสะโพก สำหรับการบาดเจ็บพบในลักษณะของการถูกหนามปาล์มทิ่ม/ตำ และลื่นล้ม แต่มีเพียง 1 ราย ที่พบการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อกระบังลม/ปอด ที่เกิดขึ้นมาจากการทำงานแสดงให้เห็นถึงอันตรายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพของกลุ่มคนตัดปาล์ม จึงควรส่งเสริมให้คนงานตัดปาล์ม/กลุ่มเกษตรกรที่ทำอาชีพสวนปาล์มมีความตระหนักในเรื่องการเลี่ยงใช้ท่าทางและเพิ่มช่วงเวลาพักระหว่างการทำงานให้มากขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย