ปัจจัยการบริหารและการปฏิบัติต่อการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ฆาลิตา อานนท์, ส.ม. (บริหารสาธารณสุข)
จำานงค์ ธนะภพ, ปร.ด. (ระบาดวิทยา)
เพียงจันทร์ เศวตศรีสกุล, ส.ด. (บริหารสาธารณสุข)
พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ, วท.ม. (ระบาดวิทยา)

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านทรัพยากรและกระบวนการบริหารต่อผลการปฏิบัติเพื่อป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดนครศรีธรรมราช คัดเลือกพื้นที่อำเภอตัวอย่างแบบเจาะจง โดยพิจารณาจากจำนวนศูนย์เด็กเล็กและมีอัตราป่วยจำเพาะด้วยโรคมือ เท้า ปากที่สูง จำนวน 3 อำเภอ รวม 101 ศูนย์ แบ่งเป็นศูนย์ที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค จำนวน 56 และ 45ศูนย์ ตามลำดับ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบตรวจสอบรายการเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อป้องกันควบคุมโรคจากหัวหน้าศูนย์และผู้ดูแลเด็ก กลุ่มละ 101 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Chi-square test


ผลการศึกษาพบว่า ทรัพยากรการบริหารของศูนย์เด็กเล็กโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 56) คะแนนเฉลี่ย 13.9 จากคะแนนเต็ม 26 คะแนน หากจำแนกตามการเข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ พบว่าทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับต่ำ มีคะแนนเฉลี่ย 14.2 และ 13.6 จากคะแนนเต็ม 26 คะแนน ตามลำดับ กระบวนการบริหารจัดการโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 56) มีคะแนนเฉลี่ย 69.4 จากคะแนนเต็ม 105 คะแนน ทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 70.9 และ 67.5 จากคะแนนเต็ม 105 คะแนน ผลการปฏิบัติเพื่อป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์เด็กเล็ก ได้แก่ 1) ระดับความรู้ทั่วไปเรื่องโรคมือ เท้า ปาก ของหัวหน้าศูนย์เด็กเล็กที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ ไม่มีความแตกต่าง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 12.5 และ 12.1 คะแนน ในกลุ่มผู้ดูแลเด็กีความแตกต่างกัน (p < 0.05) โดยมีคะแนนเฉลี่ย 12.9 และ 11.8 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ตามลำดับ 2) ระดับคะแนนการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ระหว่างศูนย์เด็กเล็กที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ มีความแตกต่างกัน (p < 0.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ย 11.5 และ 9.0 จากคะแนนเต็ม 14 คะแนน 3) ด้านการควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก (กำหนดไม่เกิน 1 รายในหนึ่งสัปดาห์) พบว่ามีความแตกต่างกัน (p < 0.005) โดยศูนย์เด็กเล็กที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 71 และ 38 ตามลำดับ ปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ ปัจจัยด้านกำลังคน การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และกระบวนการบริหารจัดการโดยรวม


สรุปได้ว่าทรัพยากรและกระบวนการบริหารมีความจำเป็นต่อการควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ให้มีประสิทธิผลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้และสนับสนุนทรัพยากรในการบริหารและกระบวนการที่เป็นระบบรวมทั้งกระตุ้นให้ศูนย์ดูแลเด็กเล็กเข้าร่วมในโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคในทุกพื้นที

Article Details

บท
บทความวิจัย