ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง ของคนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อภิชา ครุธาโรจน์
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
นันทพร ภัทรพุทธ
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ

บทคัดย่อ

คนงานที่ทำงานก่อสร้างรถไฟฟ้า มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานบนที่สูง ในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งมีผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรง ส่วนใหญ่มีการเสียชีวิตจากการตกจากที่สูงจำนวนมาก ทำการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง ของคนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ เพื่อหาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง ผลการศึกษาพบว่า เป็นคนงานชาย ร้อยละ 75.6 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18-30 ปี ร้อยละ 56.7 สถานภาพ สมรส ร้อยละ 47.8 ระดับการศึกษา คือ ต่ำกว่าระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 29.4 สัญชาติไทย ร้อยละ 60.6 อายุงานที่เป็นคนงานของโครงการของคนงานส่วนใหญ่ 1-2 ปี ร้อยละ 31.1 ประสบการณ์ในการทำงานส่วนใหญ่ 1-2 ปี ร้อยละ 62.8 ตำแหน่งงานของคนงานในปัจจุบัน คือ คนงาน/ พนักงานปฏิบัติการ ร้อยละ 81.1 เคยได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย ร้อยละ 88.3 ประวัติการเกิดอุบัติเหตุของคนงาน คือ ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 71.1 ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุของคนงานส่วนใหญ่ คือ เกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง ร้อยละ 23.9 ความรุนแรงของอุบัติในการทำงานบนที่สูง คือ อุบัติเหตุที่มีความรุนแรงเล็กน้อย ร้อยละ 26.1 จากการศึกษานี้ คนงานมีทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรม (r = 0.403**P = 0.000) การรับรู้/ เชื่อว่าตนเองสามารถแสดง/ ควบคุมพฤติกรรม (r = 0.403**P = 0.000) และพฤติกรรมความตั้งใจ (r = 0.403**P = 0.000) รวมพฤติกรรมตามแผน (r= 0.635 P = 0.000) กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาปัจจัยส่วนอื่นๆ เช่น ปัจจัยองค์กร อาจมีข้อกำหนด กฏระเบียบที่เข้มงวดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

Article Details

บท
บทความวิจัย