การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการกากของเสียจากอุตสาหกรรมในครัวเรือน กรณีศึกษาตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์, วท.ม. (สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม)
บุษยา จูงาม, วศ.ม. (วิศวกรรมความปลอดภัย)

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการกากของเสียจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือนเขตตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 2,979 คน มีกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane เท่ากับ 353 ตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากจำนวนประชากรทั้ง 6 หมู่บ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ Chi-Square ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการจัดการกากของเสียจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.40) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการกากของเสียจากอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กากของเสียจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่พบมากที่สุดในเขตตำบลชีน้ำร้าย คือ เศษไม้ไผ่และเศษหวาย กลุ่มตัวอย่างลงมติให้นำเศษไม้ไผ่และเศษหวายประดิษฐ์เป็นโคมไฟเพื่อลดปริมาณกากของเสียจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนและเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน ข้อเสนอแนะคือ องค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรช่วยส่งเสริมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการกากของเสียจากอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่นการประชาสัมพันธ์การจัดการกากของเสียจากอุตสาหกรรมที่ถูกวิธี และจัดหาศูนย์กระจายสินค้ารองรับสิ่งประดิษฐ์ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย