คุณภาพชีวิตของพนักงานเก็บขยะ กรณีศึกษาภาคใต้ ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและศึกษาคุณภาพชีวิตจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานเก็บขน/คัดแยกขยะของเทศบาลในพื้นที่ที่ฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล 5 แห่ง จำนวน 114 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในระดับที่ยอมรับได้ที่ 0.808 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) คุณภาพชีวิตด้านการทำงานอยู่ในระดับพึงพอใจปานกลาง 2) คุณภาพชีวิตด้านครอบครัวอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 3) คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 4) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและความเครียดอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 5) คุณภาพชีวิตด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับพึงพอใจปานกลาง ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและรายได้แตกต่างกันจะมีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.