การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

รัชนี จูมจี
นพรัตน์ ส่งเสริม
อรอนงค์ บุรีเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา โดยใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 257 ตัวอย่าง จำก 9 อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานีพบว่า ผลกระทบทำงานด้านสุขภาพของเกษตรกร มีความเสี่ยงอยู่ 4 ด้าน โดยพิจารณาที่ความเสี่ยงสูงสุดในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านชีวภาพพบความเสี่ยงสูงสุดในขั้นตอนการกรีดยางพารา มีความเสี่ยงจากยุง/แมลง ร้อยละ 92.95 ด้านการยศาสตร์พบความเสี่ยงสูงสุดในขั้นตอนการกรีดยางพารามีความเสี่ยงจากการใช้มือ/ข้อมือทำงานซ้ำ ๆ ร้อยละ 85.52 จากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมในการทำยางแผ่นร้อยละ 78.76 ด้านกายภาพพบความเสี่ยงสูงสุดในขั้นตอนการปลูกยางพารา มีความเสี่ยงจากความร้อน จากแสงแดดร้อยละ 85.20 ความเสี่ยงจากเครื่องจักรในการรีดแผ่นยางร้อยละ 59.80 และด้านเคมีพบความเสี่ยงสูงสุดจากสำร กำจัดวัชพืช ร้อยละ 72.20 และจากกรดฟอร์มิก/น้ำยางดิบร้อยละ 68.25 ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราพบว่า เกษตรกรมีความเสี่ยง 4 ด้าน คือ ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในขั้นตอนการกรีดยาง พิจารณาจาก 5 ขั้นตอนของการทำงาน (การปลูกยางพารา การกำจัดวัชพืชการใส่ปุ๋ย การกรีดยาง การทำยางแผ่น) จากการใช้มือและข้อมือทำงานซ้ำ ๆ มีความเสี่ยงเป็น 9.6 เท่า และขั้นตอนการทำยางแผ่นมีความเสี่ยงจากการก้มเงยหลังและศีรษะ เท่ากับ 2.5 เท่า ความเสี่ยงด้านชีวภาพจากยุง/แมลง มีความเสี่ยงเป็น 5.6 เท่า ความเสี่ยงด้านกายภาพจากเครื่องรีดแผ่นยาง มีเท่ากับ 2.8 เท่า และความเสี่ยงด้านเคมีจากการใช้สำรกำจัดวัชพืช มีความเสี่ยงเป็น 2.0 จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่ำวจะส่ง ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร ทำให้เกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยและโรคจากการประกอบอำชีพได้

Article Details

บท
บทความวิจัย