ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสมลพิษทางอากาศของผู้ประกอบอาชีพ มอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดต�ก

Main Article Content

ชนาพร เขื่อนเป๊ก, วท.บ.
ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร, วท.ม.

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำานายพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสมลพิษทางอากาศของผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้าง โดยทำาการศึกษาในอำาเภอ
แม่สอด จังหวัดตาก เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำานวน 113 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการ
ป้องกันการสัมผัสมลพิษทางอากาศ ทำาการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสมลพิษทางอากาศโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) และสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) ใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการป้องกันและอาการระบบทางเดินหายใจ


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 74.3) มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 43.60 ± 10.38 ปี ประสบการณ์การทำางานเฉลี่ยเท่ากับ 6.73 ± ± 4.65 ปี ส่วนใหญ่มีปัจจัยนำาเกี่ยวกับความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 58.4 และ 54.9 ตามลำดับ การได้รับปัจจัยเอื้อเกี่ยวกับการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันและการได้รับปัจจัยเสริมเกี่ยวกับการได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารเรื่องมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับปานกลางเช่นกันคิดเป็นร้อยละ 66.3 และ 39.8 ตามลำาดับ ในขณะที่พฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสมลพิษทางอากาศในระดับสูง (ร้อยละ 39.8) ปัจจัยเสริม (การได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารเรื่องมลพิษทางอากาศ) ปัจจัยส่วนบุคคล (เพศชาย) และปัจจัยเอื้อ (การเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศ) (B = 0.362 p = < 0.001; B = -1.685, p = 0.011; B = 0.360, p = 0.069 ตามลำดับ) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสมลพิษทางอากาศได้ร้อยละ 39.1 นอกจากนี้พบว่าพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสมลพิษทางอากาศมีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเรื่องมลพิษ ทางอากาศ และให้ความรู้ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และการจัดอบรม รวมถึงการสนับสนุนให้ได้รับอุปกรณ์ในการป้องกันมลพิษทางอากาศอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสมลพิษทางอากาศต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย