การรับรู้ความเสี่ยง และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานปฏิบัติการสายการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นและพนักงานสายการผลิตก็มีความเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงานมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมด้านความปลอดภัย (2) เปรียบเทียบการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมด้านความปลอดภัย แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ทดสอบความสัมพันธ์ของการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมด้านความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานปฏิบัติการสายการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 324 คน จาก 3 บริษัท ใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ การถดถอย กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก 2) การรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยไม่มีความแตกต่างกันในด้านปัจจัยส่วนบุคคล แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในด้านประสบการณ์การได้รับการอบรม และประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุ 3) การรับรู้ความเสี่ยงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ที่ r = 0.220
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ควรให้มีการอบรมด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเฉพาะด้านต่างๆ และจัดทำระบบการสังเกตและประเมินพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานและการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มต่อไป
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.