การสัมผัสสารไดทูเอทิลเฮซิลพทาเลท (ดีอีเอชพี) ทางการหายใจและระดับสารเมแทบอไลต์ในปัสสาวะของพนักงานอุตสาหกรรมพลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด

Main Article Content

ธีร์พิพัฒน์ สานิพามะณี
ประมุข โอศิริ, Sc.D. (Industrial Hygiene)
สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี, Ph.D. (Neuroscience)
เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์, Dr.P.H. (Epidemiology)
นพกร จงวิศาล, Ph.D. (Industrial Hygiene)

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการสัมผัสสาร Di (2-ethylhexyl) phthalate (DEHP) ทางการหายใจและวิเคราะห์ระดับสารเมแทบอไลต์ในปัสสาวะของพนักงานโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โพลีไวนิลคลอไรด์ จำนวน 56 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐาน และเก็บตัวอย่างอากาศโดยใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างอากาศแบบติดตัวบุคคลตาม NIOSH Method 5020 เพื่อประเมินการสัมผัส DEHP ทางการหายใจ และเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารบ่งชี้การสัมผัส ซึ่งประกอบด้วย Mono(2-ethyl-5-hydroxyhexyl) phthalate (MEHHP) และ Mono(2-ethyl-5-oxohexyl) phthalate (MEOHP) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ลิควิดโครมาโตกราฟี ผลการศึกษาพบว่ามีการสัมผัส DEHP ที่ความเข้มข้นเฉลี่ย 7.796±3.113 µg/m3 กลุ่มพนักงานทำความสะอาดเครื่องจักรมีระดับการสัมผัสสูงสุดที่ความเข้มข้นเฉลี่ย 9.335±3.927 µg/m3 ผลการวิเคราะห์สาร MEHHP และ MEOHP ในปัสสาวะก่อนการสัมผัสพบความเข้มข้นเฉลี่ยเท่ากับ 6.905±5.142 และ 7.353±4.955 µg/g-creatinine และหลังการสัมผัสพบความเข้มข้น เฉลี่ยเท่ากับ 9.766±7.654 และ 10.120±7.624 µg/gcreatinine ผลของการทดสอบทางสถิติพบความเข้มข้นเฉลี่ยของ MEHHP และ MEOHP หลังการสัมผัสมีค่าสูงกว่าก่อนการสัมผัสอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.05) ข้อเสนอแนะของการศึกษานี้ ควรมีการเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อเฝ้าระวังการสัมผัสอย่างต่อเนื่องและวิเคราะห์ความเข้มข้นของสาร MEHHP และ MEOHP ในตัวอย่างปัสสาวะเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นข้อมูลยืนยันการกำหนดสารบ่งชี้การสัมผัส DEHP ที่ถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย