ความชุกของการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินในพนักงานอุตสาหกรรมเคมี: การเปรียบเทียบผลตามเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินของ NIOSH และ OSHA

Main Article Content

ธีระศิษฏ์ เฉินบำรุง, M.D., M.Sc. (Occupational Medicine)
สุรีรัตน์ ธีระวณิชตระกูล, M.D., M.Sc.
ศิรินทิพย์ ชาญด้วยวิทย์, M.Sc. (Occupational Health)
วันทนีย์ หวานระรื่น, B.N.S.
วนิดา อินชิต, B.N.S.

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความชุกของความผิดปกติของผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินเมื่อใช้เกณฑ์ของ NIOSH และ OSHA ที่มีการพิจารณาและไม่พิจารณาปรับปัจจัยจากอายุในพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมสารเคมี 1,300 ราย จากบริษัทอุตสาหกรรมสารเคมี 8 แห่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งได้รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยินโดยกลุ่มงานอาชีวเวชกรรมโรงพยาบาลระยอง ระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 และมีผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินอย่างน้อย 2 ปีติดต่อกันโดยใช้ผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินครั้งแรกสุดนับตั้งแต่เข้ามาทำงานใหม่มาเทียบแปลผลตามเกณฑ์ของ NIOSH และ OSHA


ผลการวิจัยพบความชุกของการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินแบบสำคัญและแบบมาตรฐานตามเกณฑ์ของ NIOSH , OSHA, และ OSHA ที่มีการปรับปัจจัยจากอายุ คิดเป็นร้อยละ (22.15-31.91), (4.83-14.85), และ (2.34 -5.29) ตามลำดับ การศึกษานี้ไม่ได้ปรับข้อมูลพื้นฐานจึงทำให้ความชุกในแต่ละปีมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเกณฑ์ของ OSHA ที่มีการพิจารณาปรับปัจจัยจากอายุพบความผิดปกติน้อยที่สุดอาจเกิดจากการขจัดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากอายุออกไปทำให้มีความจำเพาะต่อการเกิดโรคจากการทำงานสูงขึ้น เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ระบุในกฎหมายหรือเกณฑ์ของ NIOSH ที่พบว่า มีความผิดปกติมากที่สุด จึงอาจจะมีความไวสูง


ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการวิจัยต่อยอด (1) เปรียบเทียบความไวและความจำเพาะระหว่างเกณฑ์ (2)การปรับเลือกข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และ (3) การศึกษาในประเภทอุตสาหกรรมอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย