ความถูกต้องของการประเมินภาระงานด้วยวิธีการคัดกรองและวิธีการสังเกตเมื่อเทียบกับวิธีวัดการใช้ออกซิเจน

Main Article Content

พิทยาภรณ์ ยินดี
วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์, Dr.P.H. (Industrial Hygiene)
วรกมล บุณยโยธิน, Ph.D. (Energy Technology)
เด่นศักดิ์ ยกยอน, Ph.D
ดุสิต สุจิรารัตน์, M.Sc. (Biostatistics)

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถูกต้องของการประเมินภาระงานโดยวิธีการคัดกรองและวิธีการสังเกตของ ISO 8996 เปรียบเทียบกับภาระงานที่คำนวณจากปริมาณการใช้ออกซิเจน (ความถูกต้อง ± ร้อยละ 20) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เข้าร่วมวิจัยสามกลุ่มคือ นักศึกษาสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 52 คน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ 60 คน และบุคลากรอื่นๆ ได้แก่ นักวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม ผู้จัดการแผนกความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมรวม 26 คน ในการศึกษานี้ได้บันทึกวีดิทัศน์การทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานหล่อหลอมโลหะแห่งหนึ่ง 4 สถานการณ์ สถานการณ์แรกสำหรับการอบรม และสถานการณ์ที่เหลือสำหรับการประเมินภาระงานโดยผู้เข้าร่วมวิจัย ในขณะบันทึกวีดิทัศน์ได้ติดชุดเครื่องวัดการเผาผลาญพลังงานแบบเคลื่อนที่ได้ไว้ที่ตัวผู้ปฏิบัติงานเพื่อวัดปริมาณการใช้ออกซิเจนสำหรับคำนวณภาระงาน ค่าที ได้เป็นค่าอ้างอิงสำหรับงานนั้นๆ หลังจากผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการอบรมวิธีการประเมินภาระงานแล้วจึงทำการประเมินภาระงานของผู้ปฏิบัติงานจากวีดิทัศน์ที่บันทึกไว้เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินภาระงานของผู้เข้าร่วมการวิจัยกับค่าอ้างอิง พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสามกลุ่มประเมินภาระงานของสถานการณ์ทั้งสามด้วยวิธีการคัดกรองและวิธีการสังเกตได้ถูกต้องร้อยละ 47.6 และ 60.4 ตามลำดับและกลุ่มที่ประเมินถูกต้องมากที่สุดคือ นักศึกษา รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้น จากผลการศึกษา จึงเสนอแนะให้ใช้วิธีการสังเกตสำหรับประเมินภาระงานและควรดำเนินการโดยผู้ที่มีคุณวุฒิการศึกษาหรือความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและมีประสบการณ์ในการประเมินภาระงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย