ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถรางในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ลักษณา เหล่าเกียรติ, ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม)
ศศิธร ศรีมีชัย, ปร.ด. (วิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม)

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเมื่อยล้าและ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถราง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถรางภายในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสภาพแวดล้อมการทำงาน และประเมินความรู้สึกเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัย และทำการตรวจวัดความเมื่อยล้าของสมองด้วยการวัดความถี่ของแสงกะพริบของสายตา (ค่า CFF) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและไคสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.2 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส มีชั่วโมงการนอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมง มีชั่วโมงการทำงานในการ
ขับรถรางต่อวันมากกว่า 8 ชั่วโมง ภายหลังการทำงานพนักงานขับรถรางมีความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัยในระดับต่ำและค่าความถี่ของแสงกะพริบของสายตามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
33.96 รอบต่อวินาที จากผลการประเมินความเมื่อยล้าโดยใช้ค่าความถี่ของแสงกะพริบของสายตา ร่วมกับการประเมินตามแนวทางของไปเปอร์ กล่าวได้ว่า พนักงาน
ขับรถรางมีความรู้สึกเมื่อยล้าภายหลังการขับรถ และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นประกอบด้วย ชั่วโมงการนอนหลับซึ่งพบว่า มีความสัมพันธ์
กับ ค่า CFF (gif.latex?x^{2} = 4.432, p = .035) สถานภาพสมรสและระดับการศึกษาของพนักงาน เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่พบว่า มีความสัมพันธ์กับระดับความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัย
(gif.latex?x^{2}= 4.804, p = .028 และ gif.latex?x^{2}= 4.314, p = .023) และจำนวนรอบที่ขับรถรางในแต่ละวันเป็นปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงานเพียงด้านเดียวที่พบว่า มีความสัมพันธ์กับระดับความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัย (r = -.446) จากผลการวิจัยนี้ เพื่อลดความเมื่อยล้าให้กับพนักงานองค์กรอาจทบทวนกำหนดจำนวนรอบในการขับรถรางโดยจัดรูปแบบให้มีช่วงเวลาพักระหว่างรอบให้เหมาะสมประกอบกับควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้า และวิธีจัดการเมื่อรู้สึกเมื่อยล้าหรือเหนื่อยล้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

Article Details

บท
บทความวิจัย