การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลทหารบก โดยจัดการเรียนรู้แบบใช้สถานการณ์เสมือนจริงเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • เนตรดาว ชัชวาลย์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • พัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • อริสรา อยู่รุ่ง วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • อุษณีย์ อังคะนาวิน วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • ชยุตรา สุทธิลักษณ์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • สุภรัณยา เทพนิมิตร วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

คำสำคัญ:

สมรรถนะพยาบาลทหารบก, การฝึกบูรณาการปฏิบัติการหยกพิรารักษ์, การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงเป็นฐาน

บทคัดย่อ

สมรรถนะของพยาบาลทหารบก ที่สามารถให้การพยาบาลทั้งในยามปกติ เมื่อเกิดภัยพิบัติ และยามสงคราม ไม่ว่าจะ ปฏิบัติงานภายในหรือนอกโรงพยาบาล นอกเหนือจากทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกได้เริ่มจัดการฝึก บูรณาการปฏิบัติการหยกพิรารักษ์ โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงเป็นฐาน (scenario-based training) ขึ้น โดยระยะที่ 1 (ปี พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2559) เน้นการฝึกบทบาทพยาบาลในสถานการณ์อุบัติภัยหมู่และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้ทบทวนวรรณกรรมและรวบรวมความต้องการบัณฑิตจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงพัฒนาการฝึกระยะที่ 2 (ปี พ.ศ.2560 - พ.ศ. 2562) ฝึกปฏิบัติ 4 สถานการณ์ 1) รบตามแบบ 2) รบไม่ตามแบบ 3) ภารกิจการรักษาสันติภาพ และ 4) ภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ โดยบูรณาการศาสตร์การพยาบาลร่วมกับความรู้ทางทหาร ในการจัดการปัญหาสุขภาพผู้ป่วยสมมติและจัดการสถานการณ์เสมือนจริง โดยเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจและความรู้ ผู้รับการฝึก 1-2 เดือนก่อนฝึก เพื่อพร้อมให้การดูแลช่วยเหลือผู้บาดเจ็บท่ามกลางสถานการณ์ที่กดดันและทรัพยากรทางการแพทย์ มีจำกัด

การนำไปใช้ประโยชน์ การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงสามารถนำมาพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในสถานการณ์ ที่กำหนดให้บูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ ประสบการณ์และตัดสินใจปฏิบัติให้เหมาะสม ยังพัฒนาความเป็นผู้นำ การคิดอย่าง มีวิจารณญาณ ทำให้มั่นใจในการปฏิบัติภารกิจในอนาคตซึ่งเป็นอัตลักษณ์บัณฑิตพยาบาลทหารบก

References

1. Naruponjirakul S. English Instructional Design Using Scenario-Based Learning. Journal of Humanities and Social Sciences. Rajapruk University 2019;5(1):16–28. (in Thai)
2. Bruce S, Holcomb JB. Preparing to Respond: Joint Trauma Training Center and USAF Nursing Warskills Simulation Laboratory. Crit Care Nurs Clin North Am 2003;15:149-62.
3. Ross MC. Military Nursing Competencies. Nurs Clin N Am. 2010;45:169–77.
4. Busapathumrong P. Disaster Management: Welfare Philosophy and Applications. J R Inst Thail 2012;37(3):48–73. (in Thai)
5. Thanawood C, Yongchalermchai C, Densrisereekul O. Effects of the December 2004 tsunami and disaster management in southern Thailand. Science of Tsunami Hazards 2006;24(3):206–17. (in Thai)
6. The Royal Thai Army Nursing College. students’ Manual, Bachelor of Nursing Science Program. 2019; 1-8. (in Thai)
7. Thaiudom A, Meeparn A, Untaja P, Yuroong A, Bohplian S, Ankanawin U, et al. The Intregrated Training Program for Mass Casualty and Diaster Nursing Management. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2018;19(3):77–88. (in Thai)
8. The Royal Thai Army Nursing College. Knowledge Management Manual:Yok-Phirarak Operation. 2018;1-49. (in Thai)
9. Agazio J. Army nursing practice challenges in humanitarian and wartime missions. Int J Nurs Pract 2010;16(2):166–75.
10. Reed S. Debriefing Experience Scale: Development of a Tool to Evaluate the Student Learning Experience in Debriefing. Clin Simul Nurs. 2012;8:211–17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2020