ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มหอผู้ป่วย งานการพยาบาลอายุรศาสตร์ และจิตเวชศาสตร์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • พรวิมล เบียดกระโทก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วันเพ็ญ เอี๊ยะเผ่าพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุชัญญา วงศ์แหวน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฏฐา สายเสวย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ความวิตกกังวล, พยาบาลด่านหน้า, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลและระดับความวิตกกังวลของพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 และหอผู้ป่วยทั่วไป ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 1,412 ราย สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 และหอผู้ป่วยทั่วไป เครื่องมือ ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระดับอารมณ์ด้านลบของตนเอง และแบบประเมินความเครียดและวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ช่วงเวลา โดยแบบสอบถามออนไลน์ ช่วงเวลาที่ 1 คือ ช่วงที่เริ่ม มีผู้ป่วยโควิด 19 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศิริราชสูงสุด ช่วงเวลาที่ 2 คือ ห่างจากช่วงเวลาที่ 1 เป็นเวลา 1 เดือน วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และ ค่า Inter-quartile range ร้อยละ และสถิติ t-test, stepwise multivariable binary logistic regression analysis
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความวิตกกังวล ได้แก่ อายุน้อยกว่า 35 ปี และความไม่เพียงพอของรายได้ ระดับความวิตกกังวลของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 และหอผู้ป่วยทั่วไป ในช่วงเวลาที่ 1 แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) เท่ากับ 11.8+6.6 และ 13.9+7.2 (ตามลำดับ) เสนอแนะการจัดนโยบายแก่บุคลากรเพื่อลด ความวิตกกังวล โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง

Downloads

References

Jampawal T. State Anxiety. Journal of Buddhist Psychology. 2018;3(1):13-20. (in Thai)

Mohamadzadeh Tabrizi Z, & Mohammadzadeh F, Davarinia Motlagh Quchan A, Bahri N. COVID-19 anxiety and quality of life among Iranian nurses. Biomedcentral Nursing. 2022;21(1):27.

Fernandez R, Sikhosana N, Green H, Halcomb EJ, Middleton R, Alananzeh I, et al. Anxiety And depression among healthcare workers during the COVID-19 pandemic: a systematic umbrella review of the global evidence. British Medical Journal Open. 2021;11(9):1-9.

Li R, Chen Y, Lv J, Liu L, Zong S, Li H, et al. Anxiety and related factors in frontline clinical nurses fighting COVID-19 in Wuhan. Medicine (Baltimore). 2020;99(30):1-5.

Xing L-Q, Xu M-L, Sun J, Wang Q-X, Ge D-D, Jiang M-M, et al. Anxiety and depression in frontline health care workers during the outbreak of Covid-19. International Journal of Social Psychiatry. 2021;67(6):656-63.

Sangsirilak A , & Sangsirilak S. Stress and Depressed Mood in Healthcare Workers During COVID-19 Outbreak. Journal of the Psychiatric Association of Thailand. 2020;65(4):401-8. (in Thai)

Labrague LJ, & De Los Santos JAA. COVID-19 anxiety among front-line nurses: Predictive role of organisational support, personal resilience and social support. Journal of Nursing Management. 2020;28(7):1653-61.

Kibret S, Teshome D, Fenta E, Hunie M, & Tamire T. Prevalence of anxiety towards COVID-19 and its associated factors among healthcare workers in a Hospital of Ethiopia. PLOS ONE. 2020;15(12):1-10.

Han L, Wong FKY, She DLM, Li SY, Yang YF, Jiang MY, et al. Anxiety and Depression of Nurses in a North West Province in China During the Period of Novel Coronavirus Pneumonia Outbreak. Journal of Nursing Scholarship. 2020; 52(5):564-73.

Nadeem F, Sadiq A, Raziq A, Iqbal Q, Haider S, Saleem F, et al. Depression, Anxiety, and Stress Among Nurses During the COVID-19 Wave III: Results of a Cross-Sectional Assessment. Journal of Multidisciplinary Healthcare. 2021; 14:3093-101.

Sakr CJ, Rahme D, Fakih L, Assaf SA, Redlich CA, Slade MD, et al. Anxiety Among Healthcare Workers During COVID-19 Pandemic in Lebanon: The Importance of the Work Environment and Personal Resilience. Psychology Research and Behavior Management. 2022;15:811-21.

Oumtanee A, Pornmesri A, Chintapanyakun T, & Raimaturapong J. Nursing Management during the COVID-19 Pandemic at Samutprakarn Hospital. Journal of The Royal Thai Army Nurse. 2023;24(1):249-58. (in Thai)

Yassin A, Al-Mistarehi AH, El-Salem K, Karasneh RA, Al-Azzam S, Qarqash AA, et al. Prevalence Estimates and Risk Factors of Anxiety among Healthcare Workers in Jordan over One Year of the COVID-19 Pandemic: A Cross-Sectional Study. International Journal of Environtmental Research and Public Health. 2022;19(5):1-20

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-12-2024

How to Cite

1.
เบียดกระโทก พ, เอี๊ยะเผ่าพันธ์ ว, วงศ์แหวน ส, สายเสวย ณ. ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มหอผู้ป่วย งานการพยาบาลอายุรศาสตร์ และจิตเวชศาสตร์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019. J Royal Thai Army Nurses [อินเทอร์เน็ต]. 11 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 6 เมษายน 2025];25(3):303-10. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/263755