ผลของการใช้บทเรียนออนไลน์เรื่องการคัดแยกผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินต่อความรู้และความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาล

ผู้แต่ง

  • พูนทรัพย์ ใจคำสุข โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง
  • สุภารัตน์ วังศรีคูณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อัจฉรา สุคนธรรพ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

บทเรียนออนไลน์, การคัดแยกผู้ป่วย, ความถูกต้องในการคัดแยก, ความรู้เรื่องการคัดแยก

บทคัดย่อ

การคัดแยกผู้ป่วยเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ พยาบาล จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการคัดแยกเพื่อสามารถคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินตามระดับความรุนแรงได้อย่างเหมาะสม การวิจัยกึ่ง ทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้บทเรียนออนไลน์เรื่องการคัดแยกผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินต่อความรู้และความถูกต้อง ในการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาล โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉิน จำนวน 23 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือน เมษายน 2562 ถึง เดือนพฤษภาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์เรื่องการคัดแยกผู้ป่วยที่ห้อง ฉุกเฉินที่ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียน 6 บทและแบบฝึกหัดสถานการณ์จำลอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เรื่อง การคัดแยกผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน และแบบบันทึกคะแนนความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน เปรียบเทียบความแตกต่าง ของความรู้และความถูกต้องในการคัดแยกก่อนและหลังการเรียนบทเรียนออนไลน์โดยใช้สถิติทดสอบวิลคอกซัน (the Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test) ผลการวิจัยพบว่าหลังเรียนบทเรียนออนไลน์กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ มากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และมีคะแนนความถูกต้องของการคัดแยกหลังเรียน มากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าบทเรียนออนไลน์สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความรู้และทักษะของ พยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินได้

Downloads

Author Biographies

พูนทรัพย์ ใจคำสุข, โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง

 

 

สุภารัตน์ วังศรีคูณ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

อัจฉรา สุคนธรรพ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

References

Standfield LM, Burlington NC. Clinical decision making in triage: an integrative review. J Emerg Nurs. 2015;41(5):396–403.

Sukswang S. Triage nurse: Beyond main process through practice. Journal of Health Sciences Scholarship. 2018;5(2):2-14. (in Thai)

Suamchaiyaphum K, Chanrungvanich W, Thosingha O, Momsomboon A. Factor influencing the accuracy of Emergency Severity Index-Based emergency patient triage. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council. 2019;34(4):34-47. (in Thai)

Sennunt K, Tosingha O, Sindhu S. Emergency resuscitation in trauma patients: A literature Analysis. Thai Journal of Nursing Council. 2008;23(3):26-39. (in Thai)

Wachiradilok P, Sirisamutr T, Chasit S, Sethasathien A. A nationwide survey of thailand emergency departments triage systems. Thai Journal of Nursing Council. 2016;30(2):96-108. (in Thai)

Wangsrikhun S. Quality improvement of patient triage at emergency departments. Nursing Journal. 2018;45(3):158-169. (in Thai)

Songwatthanayuth P, Watthanakorn K, Niamkoet P. Using web-based instruction and selfregulation to health promotion and prevention breast cancer in working women. Journal of Thai Royal Thai Army Nurses. 2021;22(1): 56-64. (in Thai)

Thammetar T. E-learning: from theory to practice. Nonthaburi: Sahamitr printing & publishing; 2014. (in Thai)

Khlaisang J. E-learning project Thai cyber university designing learning website: theory to practice. Bangkok: Siamprint; 2011. (in Thai)

Voutilanion A, Saaranen T, Sormunen M. Conventional vs. e-learning in nursing education: A systematic review and meta-analysis. Nurse Education Today. 2016;50:97-103.

Promton M, Wangsrikhun S, Sukonthasarn A. Effect of using computer assisted instruction for emergency department triage on nurses’ triage accuracy. Nursing Journal. 2019;46(1): 65-75. (in Thai)

Knowles M, Holton EF, Swanson RA. The adult learner: the definitive classic in adult education and human resource development. 6thed. Boston: Elsevier; 2005.

Polit DF, Hungler BP. Nursing research: Principle and methods (6thed.). altimore: Lippincott; 1999

Edlund J. Strategies for optimizing online learning in nursing staff education. (thesis). Gran Forks: University of North Dakota; 2016.

Knowles M. A theory of adult learning: Andragogy. The adult learner: A neglected species. 4thed. Houston: Gulf Publishing Company; 1990.

Cercone K. Characteristics of adult learners with implications for online learning design. Association for the Advancement of Computing in Education Journal. 2008; 16(2):137-159.

Huang HM. Toward constructivism for adult learners in online learning environment. British Journal of Educational Technology. 2002;33(1):27-37.

Curran-Smith J, Best S. An experience with an online learning environment to support a change in practice in an emergency department. Computers, Informatics, Nursing. 2004;22(2): 107-110.

Considine J, Botti M, Thomas S. Do knowledge and experience have specific roles in triage decision-making? Academic Emergency Medicine. 2007;14(8):722-726.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-01-2023

How to Cite

1.
ใจคำสุข พ, วังศรีคูณ ส, สุคนธรรพ์ อ. ผลของการใช้บทเรียนออนไลน์เรื่องการคัดแยกผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินต่อความรู้และความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาล. J Royal Thai Army Nurses [อินเทอร์เน็ต]. 2 มกราคม 2023 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];23(3):352-61. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/258260