ผลการฝึกอานาปานสติร่วมกับไบโอฟีดแบค ต่อความเครียดของผู้ดูแลหลักผู้ติดสารแอมเฟตามีน

The Effects of Anapanasati with Biofeedback on The Stress of Amphetamine Patiens’ Primary Caregivers.

ผู้แต่ง

  • ดาวรรณ หาญคำเถื่อน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ชมชื่น สมประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อังคณา จิรโรจน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการฝึกอานาปานสติร่วมกับไบโอฟีดแบค, ผู้ดูแลหลักผู้ติดสารแอมเฟตามีน, การจัดการความเครียด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการฝึกอานาปานสติร่วมกับไบโอฟีดแบคต่อความเครียดของผู้ดูแล หลักผู้ติดสารแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลักผู้ติดสารแอมเฟตามีนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกอานาปานสติร่วมกับไบโอฟีดแบค ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ประกอบด้วยกิจกรรม 8 ครั้งๆ ละ 90 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับ การดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการฝึกอานาปานสติร่วมกับไบโอฟีดแบค 2) แบบสอบถามสำหรับเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทย โดยเครื่องมือผ่านการตรวจคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน นำแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทยไปทดลองใช้กับผู้ที่มีคุณสมบัติคล้ายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย ผลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นด้วย สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาล เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเครียดระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองด้วยสถิติทีชนิดไม่เป็นความเครียดของกลุ่มทดลองก่อน และหลังการให้โปรแกรมด้วยสถิติทีชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน (independent t-test) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของ ผู้ดูแลผู้ติดสาร แอมเฟตามีนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของกลุ่มผู้ดูแลหลักผู้ติดสารแอมเฟตามีนติดสารแอมเฟตามีน ก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลองด้วยสถิติทีชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน (independent t-test) เปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของ ผู้ดูแลหลักผู้ติดสารแอมเฟตามีนระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติทีชนิดที่เป็นอิสระ ต่อกัน (independent t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังให้โปรแกรมผู้ดูแลหลักของผู้ติดสารแอมเฟตามีน มีคะแนนเฉลี่ยความเครียดด้านลบต่ำกว่า คะแนนเฉลี่ยความเครียดด้านลบก่อนการทดลอง (M = 21.27, SD = 4.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.95, p<.001) 2) หลังให้โปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดด้านบวก (M = 22.70, SD = 2.55) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 11.33, SD = 5.77) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.05, p<.001) 3) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด ด้านลบ ระหว่างก่อนและหลังการทดลองของผู้ดูแลผู้ติดสารแอมเฟตามีนของกลุ่มทดลองพบว่ากลุ่มทดลอง (D̅1 = 7.84, SD = 4.80) มากกว่ากลุ่มควบคุม (D̅2 = 0.27, SD = 0.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.50, p<.001) และผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนน ความเครียดด้านบวกระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง (D̅3 = 11.37, SD = 5.61) มากกว่ากลุ่มควบคุม (D̅4 = 0.03, SD = 1.07) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 10.83, p<.001)

Downloads

References

Heikkilä H, Maalouf W, Campello G. The United Nations Office on Drugs and Crime’s Efforts to Strengthen a Culture of Prevention in Low-and Middle-Income Countries. Prevention Science. 2021; 22(1): 18-28. (in Thai).

Ritmoontree S, Fatigue and mental health of primary caregivers of methamphetamine addicts receiving services at Thanyarak Hospital. Department of Medical Services. Ministry of Public Health; 2013. (in Thai).

Wongpanarak N, The Role of the Nurse in Addiction Counseling. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2019; 19(1): 16-23. (in Thai).

Jaroensan J. Effects of Using Clinical Nursing Pracetice Guideline in Caring for Schizophrenia Patients with Substance Dependence on Caregivers’ Capabilities and Burden, and Patients’ Relapse rate and Substance use. Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health. 2014;28(2): 46-60. (in Thai).

Yamma W, The Effect of Mediation Program on Emotion Quotient of the First Year Nursing Students in Phetchaburi Rajabhat University. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2020; 22(1): 156-65. (in Thai).

Thongkum K, The Effect of Meditation Training Together with a Biofeedback Training Program on The Stress Levels of Chronic Disease Patients: Thesis of Master Nursing Science in Mental health and Psychiatric at Thammasat University; 2012. (in Thai).

Selye H. The Stress of Life. NewYork : Mc.Graw, Prentice Hall; 1956.

Venerable Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). Buddha-Dharma (Extended Edition). Bangkok: Sahathammik; 2016. (in Thai).

Ruchiwit M. Stress management for promoting mental health. Pathumthani: Thammasat University Press. 2013. (in Thai).

Phattharayuttawat S, Thai Stress Test (TST). Journal of Psychiatric Association of Thailand. 2000; 45(3) : 237-50. (in Thai).

Lertsakornsiri M. The effectiveness of meditation program toward multipleintelligencesamong the first year students at Saint Louis College. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2016; 17(3): 44-53. (in Thai)

Lazarus, R. S., & Folkman, S. Stress, appraisal, and coping. New York: Springer;1984

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-05-2023

How to Cite

1.
หาญคำเถื่อน ด, สมประเสริฐ ช, จิรโรจน์ อ. ผลการฝึกอานาปานสติร่วมกับไบโอฟีดแบค ต่อความเครียดของผู้ดูแลหลักผู้ติดสารแอมเฟตามีน: The Effects of Anapanasati with Biofeedback on The Stress of Amphetamine Patiens’ Primary Caregivers. J Royal Thai Army Nurses [อินเทอร์เน็ต]. 5 พฤษภาคม 2023 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];24(1):163-71. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/251967