การพัฒนาเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก

ผู้แต่ง

  • ธิษณารินทร์ ชุมแดงภักดีกุล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรรถพล กาญจนพงษ์พร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อุดมสิทธิ์ จีรสิทธิ์กุล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สิทธิกำลังพล, เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำลังพล, กำลังพลของกองทัพบก, เครื่องมือกรองสิทธิกำลังพล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้ออกแบบเป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาคู่มือการดำเนินการสิทธิกำลังพลกองทัพบก สำรวจความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานคู่มือ เก็บรวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เพื่อให้ได้แนวทาง ข้อมูลที่สำคัญในการพัฒนาเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก (2) เพื่อพัฒนา เครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก (3) เพื่อวิเคราะห์ผลความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพล ของกองทัพบก และความคิดเห็นด้านอื่น ๆ การวิจัยครั้งนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นในส่วนของการ ดำเนินการที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นตอนที่ 1 คือ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยแจกแบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพคู่มือการดำเนินการสิทธิกำลังพลกับกลุ่มประชากร จำนวน 95 นาย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำลังพลทั้งหมด ขั้นตอนที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเป็นการ ดำเนินการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิกำลังพล ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 นาย และขั้นตอนที่ 3 คือ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยแจกแบบประเมินประสิทธิภาพเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบกกับ กลุ่มประชากร จำนวน 95 นาย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำลังพลทั้งหมด มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.88, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซเท่ากับ 0.83, 0.94 และ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ประสิทธิภาพของเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (µ = 4.39) และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่า ประสิทธิภาพของเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตรงตามความต้องการของ ผู้ใช้ระบบระบบอยู่ในระดับดีมาก (µ = 4.53) ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบอยู่ในระดับดีมาก (µ = 4.51) ด้านความ ง่ายต่อการใช้งานระบบอยู่ในระดับดีมาก (µ = 4.41) และด้านรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบอยู่ในระดับดี (µ = 4.13) เครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบกที่พัฒนาขึ้นช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ สามารถตอบสนองความต้องของผู้ใช้ งาน และสามารถนำไปใช้งานได้จริง

Downloads

References

Department of Army Personnel and Personnel Division Army Operations Center. Army personnel rights operation manual. Bangkok: Royal Thai Army. 2017.

Chanphen K. Educational System Development for Thesis Study and Independent Study of Chiang Mai Graduate School. Bangkok: Chiang Mai University; 2010.

Thangkratok P, Cheevakasemsook A & Angsuchoti A. A Confirmatory Factor Analysis of Digital Competency of Thai ProfessionalNurses. Journal of Thai Royal Thai Army Nurse. 2019; 20(3): 267-85. (in Thai)

Niltaya T, Limpisthian S, Seenawat A, and Intharak C. Development of Knowledge Management Model for Quality Assurance in Education at Princess of Naradhiwas University. Journal Parichat. Tuksin University 2016; 29(2): 132-53. (in Thai)

Wadyim N, Wangchom S, Mano A. Teaching and learning management in nursing using electonic learning. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2017; 33(3): 146-57. (in Thai).

Wisetsuk S. Development of a Quality Manual Using the Concept of Seven New Quality Control Instruments: A Case Study of the Water Resources Research Institute. Chulalongkorn University Bangkok: Chulalongkorn University,; 2009.

Iamrusameekun W. Development of information systems for risk management in hospitals Through the internet network, case study of Phanom Prai Hospital, Phanom Prai District, Roi Et Province. Rajabhat Maha Sarakham University. Mahasarakham. 2012

Janthaweesuk S,Siritarungsri B, Pamulila S, and Asdornwised U. The Development of an Enhancing Competency Program through Electronic Media for Perioperative Nurses to Care Patients with Brain Tumor Surgery at Sunpasitthiprasong Hospital. Journal of Thai Royal Thai Army Nurse. 2020; 21(3): 48-57. (in Thai)

Wongkaenkha A. Development of a support system for an online PDA file display program in the format of Jpeg. Chulalongkorn University. Bangkok. 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021

How to Cite

1.
ชุมแดงภักดีกุล ธ, กาญจนพงษ์พร อ, จีรสิทธิ์กุล อ. การพัฒนาเครื่องมือกรองสิทธิกำลังพลของกองทัพบก. J Royal Thai Army Nurses [อินเทอร์เน็ต]. 31 สิงหาคม 2021 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];22(2):327-36. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/251675