การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุผ่านการใช้แอปพลิเคชันไลน์

ผู้แต่ง

  • นวพร สุนนทะนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การเห็นคุณค่าในตนเอง, แอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ทำการเปรียบเทียบ การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุภายในแอปพลิเคชันไลน์และในชีวิตจริง และเสนอแนะการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ของผู้สูงอายุผ่านการใช้แอปพลิเคชันไลน์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบตัวแปรที่เป็นอิสระ ต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มแบบจับคู่และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ สหพันธ์ของเพียร์สัน

การศึกษา พบการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียว (ค่าเฉลี่ย 3.25) มีระดับน้อยกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้ อาศัยอยู่คนเดียว (ค่าเฉลี่ย 3.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -4.771, p= .000) ความถี่ในการใช้งานแต่ละวัตถุประสงค์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) และผู้สูงอายุมีการรับรู้ ว่าตนมีความสำคัญภายในแอปพลิเคชันไลน์ (ค่าเฉลี่ย 3.83) สูงกว่าในชีวิตจริง (ค่าเฉลี่ย 3.73) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.715, p = .007) ข้อเสนอแนะภาครัฐเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแอปพลิเคชันไลน์แก่ผู้สูงอายุ เพิ่มมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบ จากการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ หน่วยงานเอกชนใช้แอปพลิเคชันไลน์เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ของผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุควรมีการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์อย่างเหมาะสม

Downloads

References

United Nations Population Fund and Help Age International. Ageing in the twenty-first century: A Celebration and a challenge. New York: United Nations Population Fund; 2012.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Situation of the Thai elderly 2016. Nakhon Pathom: Printery; 2017. (in Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Situation of the Thai elderly 2013. Bangkok: Amarin Printing & Publishing; 2014. (in Thai)

Prasat Neurological Institute. Clinical practice guidelines: Dementia. Bangkok: Tanapress; 2014. (in Thai)

Kasiansin P. Instructional communication strategy on computer and internet for the elderly in middle socio-economic status. Journal of communication arts 2014;32:95-114. (in Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Situation of the Thai elderly 2012. Bangkok: Phongphanaich; 2013. (in Thai)

Boonlaet P. Promoting self-esteem in elder people with depression through online game [Thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2017. (in Thai) 8. Department of mental health. Completed suicide 2018. Bangkok: Department of mental health; 2018. (in Thai)

Electronic Transactions Development Agency. Thailand internet user profile 2018. Bangkok: Electronic Transactions Development Agency; 2019. (in Thai)

Prasert J. Thai elderlies’ LINE application consumpption behavior, self-perception and relations with others [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2014. (in Thai) 11. Chaichuay W. Elderlies’ experiencein using LINE application: a phenomenological study. Veridian E-Journal Silpakorn University 2017; 10(1):905-918. (in Thai)

Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Thailand population 2018. Mahidol Population Gazette 2018;27:1-2. (in Thai)

National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. The 2017 Household Survey on the Use of Information and Communication Technology. Bangkok: National Statistical Office; 2018.

Coopersmith S. Coopersmith Self-Esteem Inventories: Manual. California: Mind Garden; 1981.

Wongboonsin K. Elderly and Thai society. In: Thai junior encyclopedia project. Thai elderly encyclopedia. Bangkok: Thai junior encyclopedia project; 2017. (in Thai)

Songprasert J. Ageing. Chiangmai: Pongsawat printing; 1995. (in Thai)

Kaewkungwal S. Developmental Psychology in adolescent and elderly. Vol. 2. 8thed. Bangkok: Thammasat printing house; 2002. (in Thai)

Ketchan U, Salungyou N, Makkha S. Research Report of the Impacts of the Line Application Utilization on Elderly Lifestyle in Bangpakong Sub-District, Chachoengsao Province. Rajapark Journal 2018;12:52-65. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-08-2020

How to Cite

1.
สุนนทะนาม น. การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุผ่านการใช้แอปพลิเคชันไลน์. J Royal Thai Army Nurses [อินเทอร์เน็ต]. 27 สิงหาคม 2020 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];21(2):84-92. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/244643