การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกัน การติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลระนอง

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ นาครอด โรงพยาบาลระนอง
  • นิรมล อู่เจริญ โรงพยาบาลระนอง
  • กัลยาณี นาคฤทธิ์ โรงพยาบาลระนอง

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแล, ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ, ปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (research and development)นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้ เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลระนอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 88 คน และผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และไม่มีการติดเชื้อปอดอักเสบตั้งแต่แรกรับ จำนวน 301 คน วิเคราะห์ ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงเปรียบเทียบ

ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรพยาบาลมากกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วย และเห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับการนำรูปแบบการดูแล ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจไปใช้เพื่อป้องกันปอดอักเสบ คะแนนความรู้ของพยาบาลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 18.8 คะแนน เป็น 25.62 คะแนน การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 71.79 เป็น ร้อยละ 93.14 อัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 7.14 เป็น ร้อยละ 3.32 (p<0.05 ) แต่อุบัติการณ์การติดเชื้อปอด อักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันใช้เครื่องช่วยหายใจและจำนวนวันนอนไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า แนวคิดการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือสามารถนำมาประยุกต์ในการในการ พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบในโรงพยาบาลระนองได้

Downloads

References

Nuritanon J. Airway Management. Thai Emergency Medicine Journal. 2009; 3: 61–9. (in Thai)

Klinchet N, Swangjit S. Patients’Peadiness with Success in Weaning from Medchanical Ventilation. Journal of Royal Thai Army Nurses. 2018;24(2):79-91.(in Thai)

Magill, S. S., Edwards, J. R., & Bamberg, W. Multistate Point-Prevalence Survey of Health Care- Associated Infections, 2011. New England Journal of Medicine. 2014; 370:1198-1208.

University Hospital, Nursing Director Consortium. Infection control rate report 2008 – 2011. Thammasat University hospital ; 2012.

Keyt,H., Faverio,P., & Restrepo, M.L. Prevention of ventilator-associated pneumonia in the intensive care unit: a review of the clinically relevant recent advancements. India journal of Medical research.2014;139(6):814-21.

Adam,A.E.,White,C.l.,&Kennedy,T.G.Implementing an evidence based intervention to improve care for ventilator-dependent residents in a nursing home facility. Clinical Nursing Studies. 2015;3(2):109-14.

Bootsayatham N, Vanichkul N, Sindhu S, Silarat T. The Relationships among Serum Creatinine Level,Ejection Fraction, Depression, Cardio Pulmonary Bypass Time, Physical Condition and Extubation Time in Patients with Elective Open Heart Surgery. Journal of Royal Thai Army Nurses. 2017;17(3):115-22.(in Thai)

Institute for Healthcare Improvement (IHI). The Breakthrough Series IHI’s Collaborative Model for Achieving Breakthrough Improvement. IHI Innovation Series white paper, Institute for Healthcare Improvement, Boston;2003: 1-20.

Centers for Disease Control and Prevention. Guidelines for Preventing Health CareAssociated Pneumonia, 2003. Recommendation of CDC and the Healthcare infection Control Practices Advisory Committee.2004; MMWR. 53(RR-03): 1-36. (in Thai)

Panida K,Tongpran N,Srisuda A. Effects of the development for promotional program for the implementation of ventilator associated pneumonia prevention-guidelines. Journal of Nursing Division.2017;44(3):34-57. (in Thai)

Somsup R, Prajanpol J, PhemPhul C, Vibulchai N, Pakkangway P, Lttarat J. Nursing Quality Improvement for Patient Safety of Critical Patients with Mechanical Ventilators in General Wards.Journal of Royal Thai Army Nurses. 2019;20(3):114-26.(in Thai)

Okgun Alcan, A., Demir Korkmaz, F., & Uyar, M. Prevention of ventilator-associated pneumonia: Use of the care bundle approach. American journal of infection control. 2016; 44(10):173- 6.

Ferreira, C.R., Soza, D.f., Cunha,T.m.,Tavares, m., Reis, s.s.a., Pedroso, R. S., et al. The Effectiveness of a bundle in the prevention of ventilatorassociated pneumonia. The Brazilian journal of infectious disease. 2016;20(3):267-71.

Sarat S. Gerontological Nursing :Common Problems and Caring Guideline. 3 rded. Bangkok: The Publisher of Chulalongkorn University; 2011.(in Thai)

Wisetsiri P,Unahalekhaka A,Kasatpibal N. Development of a Model for Promoting Practices to Prevent Drug-resistant Organisms Infections among Nursing Personnel, Medical Department of a Tertiary Care Hospital. Nursing Journal. 2015; 42(3):119-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2020

How to Cite

1.
นาครอด ศ, อู่เจริญ น, นาคฤทธิ์ ก. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกัน การติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลระนอง. J Royal Thai Army Nurses [อินเทอร์เน็ต]. 1 กันยายน 2020 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];21(2):295-304. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/239937