การพัฒนาโปรแกรมสอนสุขศึกษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ทฤษฎีการดูแลตนเอง
คำสำคัญ:
โปรแกรมการสอนสุขศึกษา, การดูแลตนเอง, ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมสอนสุขศึกษา ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยประยุกต์ทฤษฎีการดูแลตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง และเครื่องวัดความดันโลหิต เก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงโดยใช้ Dependent t-test กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน คัดเลือกโดยวิธี การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเกณฑ์คือ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีค่าความดันโลหิต Sys-tolic มากกว่าหรือเท่ากับ 140 mmHg. และมีค่าความดัน Diastolic มากกว่าหรือเท่ากับ 90 mmHg. ผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมสอนสุขศึกษาประกอบด้วย การสอนสุขศึกษาเรื่องความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมี ความรู้ในการดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่อง การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลาย ความเครียด การงดหรือลดปริมาณการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานยาอย่างถูกต้อง และการตรวจตาม นัด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อดำเนินใช้โปรแกรมการสอนสุขศึกษา พบว่า ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม สุขศึกษา ระดับความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยระดับคะแนนเฉลี่ยของ ความรู้โรคความดันโลหิตของผู้ป่วยก่อนได้รับโปรแกรมเท่ากับ 10.58 หลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษาคะแนนเท่ากับ 19.45 และคะแนน เฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยก่อนได้รับโปรแกรมสุขศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.74 หลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษา คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 36.09
References
Hypertension Association of Thailand. Hypertensive Care Guideline in General Medicine. Bangkok: Huanam Printing Limited; 2012. (in Thai)
McEwen, M., & Wills, E.M. Theoretical Basis for Nursing 4th ed. Philadelphia: Lippincott; 2014.
Navejareon R. Hypertension. Bangkok: Ammarinsukkaparb; 2009. (in Thai)
Srilaruk S., Chotmongkol R., Chumjaun S., Chantha D. Citizen Guideline for Hypertension and Diabetes. Khon Kaen: Klung Nana Printing; 2009. (in Thai)
Wongvichean M. Hypertension. Bangkok: ReaderDigest; 2010. (in Thai)
Theanthawon W. New Health Promotion. Bangkok: Veterans Relief Organization; 2012. (in Thai)
Sitthichai Archayindee. Basic Knowledge in Manual Providing Self Care on Hypertensive Management. Bangkok: Veterans Relief Organization; 2013. (in Thai)
Giuseppe M, et al. Guidelines for the Management of Arterial Hypertension the Task Force for the Management of Arterial Hypertension of the European Society of Hypertension (ESH) and of the European Society of Cardiology (ESC). Geneva: World Health Organization; 2007.
World Health Organization. International Society of Hypertension. European Heart Journal. 2003; 28: 1462–1536.
World Health Organization. A Global Brief on Hypertension. Geneva: World Health Organization; 2013.
Bloom B.S. Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw –Hill; 1976.
Suntawacha C. Basic Concept Theories and Nursing Process. Bangkok: Thanapress; 2005. (in Thai)
Chanmoree S. Health Strategy. Bangkok; Pimluck; 2010. (in Thai)
Cronbach, lee J. Essentials of Psychological Testing. New York: Harper Collins; 1990.
Supimol P. The Result of Health Education Program for Hypertension of Risk Group on Age 35-59, Songdao District, Sakonakorn Province. Office of Disease Prevention and Control 7, Ubon Ratchathani Province. 2009; 7 (3): 28-40.(in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.