การดูแลบุคคลที่มีภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรงแบบองค์รวม: ถอดบทเรียนกรณี 13 ชีวิต ทีมหมูป่าอะคาเดมี่ติดถ้ำหลวง จ.เชียงราย

ผู้แต่ง

  • มุกข์ดา ผดุงยาม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • วาสนา ทรัพย์ประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ปณตพร ชนะกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

โรคความผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง, การดูแลแบบองค์รวม, ทีมหมูป่าอะคาเดมี่, เทคนิคการให้คำปรึกษา

บทคัดย่อ

ทีมนักฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นเวลา 17 วัน มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง ( POST-TRAUMATIC STRESS DISORDER : PTSD ) ซึ่งผู้ประสบภัย จะมีความฝังใจต่อเหตุการณ์นั้น เมื่อหวนนึกถึงก็จะมีความรู้สึกกลัว และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญจนส่งผลต่อพฤติกรรมทำให้มี อารมณ์ และความคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ แสดงพฤติกรรมตอบโต้ที่รุนแรง รวมถึงมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติกิจวัตรประจำ ลดลงกว่าเดิม ในระยะแรกของการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือเพื่อให้พ้นจากภาวะอันตรายและรอดชีวิต หลังจากนั้นจะให้การ ประคับประคองทางด้านจิตใจไปพร้อมกับการช่วยเหลือด้านอื่นๆ การรักษาที่ได้ผลดีคือการดูแลและฟื้นฟูแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การทำจิตบำบัดและการให้คำปรึกษาจะช่วยให้ผู้ประสบภัยได้ตระหนักรู้และเข้าใจถึงปัญหาของตนเอง ในลักษณะที่เชื่อมโยงกันแบบองค์รวม ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อชีวิตทางลบไปสู่ทางบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คำปรึกษาจะช่วยพัฒนาสุขภาวะด้านจิตวิญญาณซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดในการขับเคลื่อน ชีวิตของมนุษย์ จะช่วยทำให้ผู้ประสบภัยได้สัมผัสถึงพลังชีวิตของตนเอง มีความสุข สงบจากภายใน สามารถเข้าใจและยอมรับปัญหา ชีวิตได้ตามความจริง และกลับสู่ภาวะสมดุลปกติของชีวิตได้เร็วขึ้น ซึ่งการถอดบทเรียนจากทีมหมูป่าอะคาเดมี่ และการปฏิบัติการ ช่วยเหลือพวกเขาจะเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดี และเป็นโมเดลการเรียนรู้ให้แก่สังคมต่อไป

References

1. American Psychiatric Association. Diagnostic criteria from the diagnostic and statistical manual of mental disorders (DSM-5). (5th ed.). Washington, DC: Author; 2013.

2. Suthamnirand, A. Post-traumatic stress disorder in children. Journal of Medicine and Health Sciences. 2014; 21(3): 4-9. (In Thai).

3. Varcarolis, E.M. Manual of psychiatric nursing care planning. New York: Suanders, an imprint of Elsevier Inc; 2015.

4. Black, D. W., & Andreasen, N. Introductory textbook of psychology. (5thed.). Washington, DC: American Psychiatric Publishing; 2011.

5. Mayo Clinic Staff. Post-traumatic stress disorder (PTSD). Mayo Clinic Diseases and Conditions. MO: Mayo Foundation for Medical Education and Research; 2014.

6. Igreja, R.P. Infectious diseases associated with caves. Wilderness Environ Med. 2011;22:115-21.

7. Phadungyam, M., Phonin, S., Chuchuen, W.Perception of Holistic Health Status among Teenage Mothers, their Families, and Social Circumstance in Phetchaburi province. EAU Heritage Journal Science and Technology. 2016;10(2):250-261. (In Thai).

8. World Health Organization, International Council of Nurse. ICN framework of disaster nursing competencies. Geneva: Western pacific region; 2009.

9. Siripukdeekan, C. Nursing Role with Incident Command System in Disaster. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2018; 19(2): 70-77.(In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2019