การพัฒนานวัตกรรมชุดจำลองการพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายระบายทรวงอก

ผู้แต่ง

  • แอน ไทยอุดม วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • สุวีณา เบาะเปลี่ยน วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • อริสรา อยู่รุ่ง วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • อุษณีย์ อังคะนาวิน วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • ชยุตรา สุทธิลักษณ์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ชุดจำลองการพยาบาล, สายระบายทรวงอก

บทคัดย่อ

การใส่สายระบายทรวงอกเป็นหัตถการช่วยชีวิตที่มีความสำคัญในการจัดการภาวะลมหรือเลือดคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ใส่สายระบายทรวงอกก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้หากได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ความรู้และทักษะการพยาบาลสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายระบายทรวงอกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ทักษะการพยาบาล ที่เกี่ยวข้องบางประการ เช่น การพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน เมื่อสายระบายทรวงอกเลื่อนหลุดหรือขวดรองรับแตก ไม่สามารถทำการ ฝึกกับผู้ป่วยจริงได้ และการขาดแคลนหุ่นฝึกที่มีความจำเพราะต่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ทำให้คณะผู้พัฒนานวัตกรรมมีความจำเป็น ต้องพัฒนาชุดจำลองดังกล่าวขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่ออุปกรณ์ในการสอนและฝึกทักษะการพยาบาลก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงบนคลี นิก โดยได้นำชุดจำลองที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้และประเมินผลโดยนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 52 จำนวน 83 นาย และอาจารย์ พยาบาลจำนวน 5 นาย ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ความรู้และทักษะการพยาบาลทั้งตามการรับรู้โดยผู้เรียนและการประเมิน โดยใช้แบบทดสอบเพิ่มสูงขึ้นภายหลังการใช้นวัตกรรมสื่อการสอนดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับความพึงพอใจของ ผู้ใช้ทั้งโดยผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในระดับดีมาก ( X = 4.63 และ 4.88 ตามลำดับ)

References

1. Leelatanapipat K et al. Clinical Nursing Practice Guideline Development for Trauma Patients. Chulalongkorn Hospital. 2011; 1:4-5. (in Thai)

2. Wongkornrat W. Thoracostomy. Journal of the Medical Association of Thailand. Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital. 2017; 98(5):479-483. (in Thai)

3. Kittisap C. et al. Nursing Management in Chest Drainage. Clinical Nursing Practice Guideline Development for Trauma Patients with a chest drain. Central Chest Institute of Thailand. 2555, 10-35. (in Thai)

4. Sumonwong W. Nursing Care for Chest Trauma 2nd ed. Chonburi: Kamonsilp Publishing; 2007. (in Thai)

5. Boonchoochuay R. Innovative Suction Training “RTAFNC Suction Model.” Journal of The Police Nurse. 2015; 7(1): 45-52. (in Thai)

6. Prajankett O. & Prasittivejchakul A. Development of the Prototype Model for Practicing Abdominal Examination. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2017; 18(3): 44-50. (in Thai)

7. Boromrajonani College of Nursing Ratchaburi. Health Innovation Development. 2017 (in Thai)

8. Cant R. P. & Cooper S.J.J. Simulation-based learning in nurse education: A systematic review. Journal of Advanced Nursing. 2010; 66(1):3-15. doi: 10.1111/j. 1365-2648.2009. 05240.x.

9. Norman J. Systematic review of the literature on simulation in nursing education. The ABNF Journal. 2012; 23(2): 24-28.

10. Lateef F. Simulation-based learning: Just like the real thing. Journal of Emergencies, Trauma and Shock. 2010; 3(4): 348–352. doi: 10.4103/0974-2700.70743.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2018