การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • อุบลรัตน์ วิเชียร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
  • สุรีย์ จันทรโมลี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ประภาเพ็ญ สุวรรณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • พรสุข หุ่นนิรันดร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุ, การรับรู้การป้องกันอุบัติเหตุ, พฤติกรรม การป้องกันอุบัติเหตุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงาน อุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กแห่งหนึ่ง โดยใช้กิจกรรม การป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเกิดการรับรู้และมีพฤติกรรมในการป้องกันอุบัติเหตุมากขึ้นหลังใช้กิจกรรม ใช้ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานและเปรียบเทียบผลภายในกลุ่มทดลองสถิติที่ใช้ Paired samples t - test ผลการวิจัยพบว่า 1)กลุ่มตัวอย่างหลังใช้กิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ การรับรู้ความรุนแรง ของอุบัติเหตุ การรับรู้ความสามารถในการตอบสนองและการรับรู้ความสามารถของตนเองจากการป้องกันอุบัติเหตุมากกว่าก่อนใช้ กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2)กลุ่มตัวอย่างหลังใช้กิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ จากการปฏิบัติงานมากกว่าก่อนใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3)กลุ่มตัวอย่างหลังใช้กิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย การเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานลดลงกว่าก่อนใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

Downloads

References

Compensation fund. Annual Report. Social Security Office. Ministry of Labour; 2558. (in thai)

Tiangkhamdee N. Factors influencing work-related accidental prevention behaviors of garbage collectors in Banglamung district Chonburi province. Master Thesis Nursing Occupational Health. College. Burapa university; 2556. (in thai)

Rogers C. Cognitive and psysiological processes in fear appeals and attitude change : A revised theory of protection motivation. In J. Cacioppo & R.Petty (Eds.), Social Psycopsysiology. New York : Giuldford Press; 1983.

Heinrich W. Industrial accident prevention. New York : Mc Graw-Hill; 1959.

Tangkitvanich S. The nature of things: a view from the complex system. Thailand Development Research Institute; 2003. (in thai)

Boonrod S. Creating a training program on occupational safety management for employees working in the ground floor maintenance equipment of Thai Airways
International Public Company Limited. Environmental Education. College. Phranakhon Rajabhat University; 2007. (in thai)

Charoenruengrueang N. Occupational accident prevention behaviors of employees in a plastic resin plant in Pathum Thani province. Master Thesis Environmental Health Department. College. Khonkaen University; 2008. (in thai)

lueangarongkod P. Development of accident prevention model in small plastic factory. Doctor of Philosophy. Education and Social Development. College. Burapa university; 2008. (in thai)

Thepnarin N, Buapetch A and Isaramalai S. The effect of health belief model and risk management program for heat injury prevention amongthe Royal Thai Army
Recruits. Journal of The Royal Thai Army Nurse 2018; 19 (1): 115-125. (in thai)

Chunthai K, Haruthai C, Sathira-angura T. Model development of chief nursing officer’s network for health promotion. Journal of The Royal Thai Army Nurse 2018; 19 (1): 241-252. (in thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2018

How to Cite

1.
วิเชียร อ, จันทรโมลี ส, สุวรรณ ป, หุ่นนิรันดร์ พ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. J Royal Thai Army Nurses [อินเทอร์เน็ต]. 30 สิงหาคม 2018 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];19:147-55. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/156054