ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล

ผู้แต่ง

  • สิวาภรณ์ เจริญวงศ์ กลุ่มงานอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
  • ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล กลุ่มงานอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
  • อภิสิทธิ์ ตามสัตย์ กลุ่มงานอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

คำสำคัญ:

ห้องเรียนเสมือนจริง, การเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

ห้องเรียนเสมือนจริงเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือ ระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับอาจารย์พยาบาลที่จะนำห้องเรียนเสมือนจริงมาประยุกต์ใช้ในโลกยุคดิจิตอล ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย สามารถทบทวนและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา นำไปสู่การพัฒนาความรู้ความตระหนักรู้และทักษะทางวิชาชีพได้ อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่อาจารย์พยาบาลควรพิจารณาในการสร้างห้องเรียนเสมือนจริง คือการเลือกหัวข้อสอนหรือเนื้อหารายวิชาที่เหมาะสมกับการเรียนรู้โดยต้องมีระบบอินเตอร์เน็ตที่ได้มาตรฐาน ออกแบบส่วนต่อประสานได้อย่างกลมกลืนโดยออกแบบการใช้งานให้เป็นมิตรกับผู้เรียน (user-friendly) ใช้สัญลั กษณ์ที่ง่ายต่อการจดจำมีการใช้สื่อมัลติมีเดียที่หลากหลาย สนุกและดึงดูดความสนใจของนักศึกษาพยาบาลได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีสะดวกสบาย ในการเข้าใช้พื้นที่ใช้งานและรูปแบบของห้องเรียนมีความเหมาะสมกับการมองเห็นและมีการจัดลำดับเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับช่วงเวลาในการมีปฏิสัมพันธ์ มีช่องทางในการสืบค้นหรือมีข้อเสนอแนะ รวมทั้งควรมีการประเมินผลการเรียน รู้ที่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์รายวิชา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร การส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลได้เรียนรู้ในห้องเรียน เสมือนจริงร่วมกับเพื่อนโดยทำเป็นคู่ หรือเป็นทีม จะช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างไรก็ดี ห้องเรียน เสมือนจริงเป็นเพียงเครื่องมือหรือทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้ ยังไม่สามารถทดแทนการเรียนการสอนทางการพยาบาล ที่แท้จริงได้ เพราะพยาบาลเป็นศาสตร์ต้องอาศัยความรู้ ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ จิตวิญญาณ และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการ ดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ ดังนั้นห้องเรียนเสมือนจริงจึงไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมด

References

1. Janepanish Visudtibhan P, & Disorntatiwat, P. Learning style preferences of nursing students at Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2015;25(1):70-82.

2. Seewungkum D, Ketmaneechairat, H., & Caspar, M. A framework of virtual classroom model on the Internet. The First International Conference on Future Generation Communication Technologies. 2012:156-61.

3. Aroonpiboon B. Goal of Thai OER/MOOC 2014.

4. Zhan z. A review of virtual classroom interface designs. 20IO International Conference on Educational and Information Technology (ICEIT 2010). 2010:V2-264-7.

5. Verkuyl M, Romaniuk, D., Atack, L., & Mastrilli, P. Virtual Gaming Simulation for Nursing Education: An Experiment. Clinical Simulation In Nursing. 2017;13(5):238-44.

6. Sweigart L, Burden, M., Carlton, K. H., & Fillwalk, J. Virtual Simulations across Curriculum Prepare Nursing Students for Patient Interviews. Clinical Simulation in Nursing. 2014; 10(3):e139-e45.

7. Pascoe E, & Karasmanis, S. Virtual classroom technology: facilitating distance education nurses’ knowledge of systematic literature searching. In B. Hegarty, J. McDonald, & S.-K. Loke (Eds.). Rhetoric and Reality: Critical perspectives on educational technology Proceedings ascilite Dunedin. 2014:475-9.

8. Agrawal N, Kumar, S., Balasubramaniam, S. M., Bhargava, S., Sinha, P., Bakshi, B., & Sood, B. Effectiveness of virtual classroom training in improving the knowledge and key maternal neonatal health skills of general nurse midwifery students in Bihar, India: A preand post-intervention study. Nurse education today. 2016;36:293-7.

9. Waters N. The Effect of Virtual-Learning on the Cultural Awareness of Nursing Students. Nursing Theses and Capstone Projects. 2014(41).

10. O’Flaherty JA, & Laws, T. A. Nursing student’s evaluation of a virtual classroom experience in support of their learning Bioscience. Nurse education in practice. 2014;14(6):654-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2018