การวิเคราะห์ตัวประกอบภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพของพยาบาล ในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ

ผู้แต่ง

  • นันทนา บุญเลิศ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วาสินี วิเศษฤทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพ, พยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวประกอบภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพและตัวแปรที่อธิบายลักษณะ สำคัญของตัวประกอบภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 4 แห่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน มีพยาบาลวิชาชีพ เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมบูรณาการร่วมกับผลการสัมภาษณ์ผู้ เชี่ยวชาญด้านภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า CVI เท่ากับ .94 และความเที่ยงได้ค่า .99 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการสกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนตัวประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่าตัวประกอบภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ มีทั้งหมด 6 ตัวประกอบ บรรยายด้วย 49 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนคิดเป็นร้อยละ 70.38ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและกฎหมาย สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 50.42 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 10 ตัวแปร 2) ด้านการพัฒนาตนเอง เชิงวิชาชีพสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 7.800 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 11 ตัวแปร 3) ด้านคุณลักษณะ เฉพาะทางวิชาชีพสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 3.839 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 9 ตัวแปร 4)ด้านการปฏิบัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 3.398 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 8 ตัวแปร 5)ด้านการ ติดต่อสื่อสารและให้ความรู้ทางสุขภาพสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 2.774 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 8 ตัวแปรและ 6) ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงวิชาชีพสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 2.152 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 3 ตัวแปร

Downloads

References

1. Somchit H. Advanced Nursing Practice: Integration into Practice. Nonthaburi: Nursing Council, Ministry of Public Health, 2010. (in Thai)

2. Kalisch & Kalisch. The image of nurse in novels. American Journal of Nursing 82,1982; 1220-1224.

3. Pharida I. The Essentials of Nursing. Bangkok : Sam Charoenpanich, 1992. (in Thai)

4. Benjamas P, et al. Professional Nurses’ Perceptions towards Images Inuencing Value and Trust in Nursing Profession. Nursing Journal. Chiang
Mai University. 2015. (in Thai)

5. Tzeng,H.M. Testing a conceptual model of the image of nursing in Taiwan. International Journal of Nursing Studies. 2006; 755-765.

6. Poonpilat R. The Nurse in the Public Image. Thesis Nursing Master of Nursing. Chiang Mai University. 1997. (in Thai)

7. Sumalee C. Professional Self- Image as Perceived by Professional Nurses in Hospitals under the Jurisdiction of the Medical Services Department, The Ministry of Public Health Bangkok Metropolis. Thesis Nursing Master of Nursing. Chulalongkorn University. 2008. (in Thai)

8. Strasen, L. The image professional nursing. Philadelphia : J.B. Lippincott, 1992.

9. Khaekhai I. Professional Nurses’ Image During The 21st Century. Thesis Nursing Master of Nursing. Chulalongkorn University. 2008. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2018

How to Cite

1.
บุญเลิศ น, วิเศษฤทธิ์ ว. การวิเคราะห์ตัวประกอบภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพของพยาบาล ในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ. J Royal Thai Army Nurses [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2018 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];19:311-9. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/134548