โปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรม ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลสุขภาพช่องปาก ของเด็กวัยก่อนเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ผู้แต่ง

  • ผุสดี ใจอารีย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วีณา จีระแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, สุขภาพช่องปาก, เด็กวัยก่อนเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ เพื่อป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ ต่อพฤติกรรมของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยก่อนเรียนโรค หัวใจพิการแต่กำเนิด โดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคของ Rogers กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยเด็กวัยก่อน เรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอายุ 3-6 ปี และเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค แบบสอบถามในการกำกับการทดลอง และแบบสอบถามพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนเรียนโรคหัวใจพิการแต่ กำเนิด วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับนัย สำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยก่อนเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หลังได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยก่อนเรียนโรคหัวใจพิการแต่ กำเนิด กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

Downloads

References

1. O’Brien P, Baker AL. The child with cardiovascular dysfunction. In: Hockenberry MJ, Wilson D, Barrera P, editors. Wong’s nursing care of the infants and children. 8th ed.St. Louis: Mosby year book; 2007. p. 88-95.

2. Weraarchakul W. Oral Health Status and Oral Health Care in Pediatric Patients with Congenital Heart Disease at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University, Thailand. Srinagarind Medical Journal Vol.24; 2011. p.309-316. (in Thai)

3. Yoshinaga M, Niwa K, Niwa A, Ishiwada N, Takahashi H, Echigo S,Nakazawa M. Risk factors for in hospital mortality during infective endocarditis in patients with congenital heart disease. Am J Cardiol. 2008; 101: 114 -118.

4. Keadtud P. Child Care and Development unit 4. University Press Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi; 1997. p. 242-249. (in Thai)

5. Knochelmann, A., Geyer, S., and Grosser, U. Maternal understanding of infective endocarditis after hospitalization: assessing the knowledge of mothers of children with congenital heart disease and the practical implications. Pediatric cardiology 2014;35: 223-231.

6. Rogers, W. R. Cognitive and physiological process in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. In: Cacioppo, B. L. and Pretty, L. L., editors. Social phychophysiology: A sourcebook. London UK: GUiford.; 1983. pp. 153-176.

7. Public health division, Department of Health. Mothers and children’s Oral and Oral Health Care Handbook. The Veterans Administration Printing House. Bangkok; 2008. (in Thai)

8. Queen Sirikit National Institute of Child Health. A Guide to Dental Care for Children with Congenital Heart Disease. Chulalongkorn University Press. Bangkok; 2006. (in Thai)

9. Bandura, A. Self-efficacy. In V. S. Ramachaudran (Ed.), Encyclopedia of human behavior 1994;4:71-81.

10. Itsarawat S. Teaching adults. Vol.1. Charan Sanitwong Printing. Bangkok; 2000. (in Thai)

11. Pornjindarat S. Effects of health education program on urinary tract infection preventive behavior among mothers of children with vesicoureteral reflux in queen sirikit national institute of child health. Master thesis, Health education and behavioral sciences, Faculty of Science, Mahidol University.1999 (in Thai)

12. Thipsodsong A. Knowledge, attitude and practice parents in oral health care for visually impaired children. Journal of Dentistry, Prince of Songkla University, Vol.3. Songkla; p. 1-16. (in Thai)

13. Thamkul T. Application of motivation theory to prevent tooth decay of preschool children Bythe Governor of Muang District, Nakhon Ratchasima.Master thesis, Health education and behavioral sciences, Faculty of Health Sciences, Mahidol University. 2011 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2018

How to Cite

1.
ใจอารีย์ ผ, จีระแพทย์ ว. โปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรม ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลสุขภาพช่องปาก ของเด็กวัยก่อนเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. J Royal Thai Army Nurses [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2018 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];19:167-76. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/134426