พฤติกรรมการบริโภคอาหารกับโรคไม่ติดต่อของบุคลากรการแพทย์ในเขตเมือง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, เขตเมือง, โรคไม่ติดต่อโรคเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามวิถีบริโภคนิยม กับโรคไม่ติดต่อ โรคเรื้อรังของกลุ่มตัวอย่างบุคลากรในโรงพยาบาลเขตเมือง 353 คน และนอกเขตเมือง 59 คน รวมทั้งหมด 412 คน โดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภค อาหารของครอบครัวในชุมชนบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ค่าความเชื่อมั่นใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ คอนบราค (Cronbach’s alpha Coefficient) เท่ากับ 0.86 สถิติพรรณนาใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ใช้ Student t-test และ Fisher exact test โดยแบ่งพฤติกรรมการบริโภคเป็น 3 ระดับ คือ ดี ปานกลาง ควรปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังของบุคลากรการแพทย์ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง ไม่แตกต่างกัน โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง x = 3.11, SD = 0.88 และ x = 3.18, SD = 0.95 ตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบ รายข้อ พบว่า การรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่าง เช่น ลูกชิ้นปิ้ง หมูปิ้ง ไก่ย่าง ปลาเผา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P<.05) พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และ โรคอ้วน ของบุคลากรการแพทย์ในเขตเมืองและนอกเขตเมืองเปรียบเทียบร้อยละรายด้านโดยพิจารณาจากความถี่ในการปฏิบัติ พบว่า บุคลากรทั้ง 2 แห่งปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)
ดังนั้นพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามวิถีบริโภคนิยมกับโรคไม่ติดต่อ โรคเรื้อรัง ของบุคลากรเขตเมืองและเขตนอกเมือง ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง จึงควรทำการศึกษาวิจัยให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อวางแผนส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บุคลากร มีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดไม่ติดต่อ โรคเรื้อรังต่อไป
Downloads
References
Piaseu N. Nutritional care for the control of chronic non-communicable disease groups in the community. 1st. Bangkok: Jud thong Company; 2018. (in Thai).
Suebsamarn S, Supthanasub A, editors. Food Service Management in Institutions. 4ed. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University; 2016. (in Thai).
Poonperm R. Food Consumption Behaviors of Family in the Community of Phramongkutklao Hospital personnel’s Residence. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2016; 17(2) : 78-88. (in Thai)
Vasuthada C, Jaikla N, Jarujit S, Dechavoot L. The Relationship between Perception toward Non-communicable Diseases and Health Promotion Behaviors for Non-communicable Diseases Prevention among People in Muang District, Chanthaburi Province. Journal of Phrapokklao Nursing College. 2018; 29(2) : 47-59. (in Thai)
Rotjanachewakom S. The Attitudes and Behaviors on Food Consumptions of the Staff inthe Sakon Nakhon Hospita. Nursing, Health, and Education Journa. 2019; 2(3) : 32-42. (in Thai)
Chen D, Rivera AA, Gonzalez J, Burt D, Mendoza MC, Patrie J, et al. Prevalence of risk factors for noncommunicable disease in an indigenous community in Santarigo Atilan Guatemala. Rev Panam Salud Pubica. 2017; 4(7) : 1-9.
Chaitokkia S. Factors affecting food consumption behaviors of adults in northeastern Thailand. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University. 2018; 13(45) : 68-78. (in Thai)
Sridawruang C, Worawong C, Sriyasak A, Howharn C, Manassatchakun P. Relationships between Knowledge, Attitude, and Behavior toward Food Consumption and Physical Exercises among Rural Overweight Middle-Aged Adults. Regional Health Promotion Center 9 Journal. 2020; 35 : 464-82. (in Thai)
Boonyasopun U, Aree P, Srisuphan W, Wongsurapraki S. Perception of Benefits and Barriers, Perceived Self-efficacy, Social Support and Eating BehaviorToward Nutritive Value and Safety among Women Living in the Inner City and Outside City Area Christian University Journal. 2019; 25(1) : 1-18. (in Thai)
Chalermdan N. Consumers’ Behavior on Buying Delivery Food Via Mobile Application During New Species of Corona Virus 2019 (COVID-19) in Bangkok. Journal of Industrial Business Administration. 2020; 2(1) : 92-106. (in Thai)
Chenarides L, Grebitus C, Lusk LJ., Printezis R. Food consumption behavior during the COVID-19 pandemic. Wiley Agribusiness an International Journal. 2020; 1-38.
Srisomthrong K, Petsirasan R, Noonil N. Food Consumption Behaviors and Nutritional Status among Adults and Older Persons in Nakhon Si Thammarat. Rama Nurs J. 2021; 27(2) : 232-46. (in Thai)
Tobunma S, Kunalai N. Behavior of Using Food Delivery. Thesis B.Econ. in Economics, Naresuan University; 2019. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพยาบาลทหารบก

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.