การพัฒนาแบบวัดความรับผิดชอบของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

Authors

  • ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิริเดช สุชีวะ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โชติกา ภาษีผล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความรับผิดชอบ, แบบวัดบนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, นักศึกษาพยาบาลศาสตร์, Responsibility, Multimedia Test, Nursing Students

Abstract

ความรับผิดชอบเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญในสาขาพยาบาลศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติของประเทศไทยและอีกหลายๆ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์3 ประการ ได้แก่ 1) พัฒนาโมเดลการวัดและแบบวัดความ รับผิดชอบ 2)ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและ3)กำหนดคะแนนจุดตัดตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่4 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1,106คน จาก 18 สถาบัน เครื่องมือเป็นแบบวัดความรับผิดชอบบนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียวิธีวิจัยแบ่งเป็น 3ระยะ ได้แก่1)การพัฒนาโมเดลการวัดและแบบวัดความรับผิดชอบ 2)การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ ความเที่ยงความตรงเชิงโครงสร้างและ3)การกำหนดคะแนนจุดตัดผลการวิจัย พบว่าโมเดลการวัดประกอบด้วย3องค์ประกอบ ได้แก่1)ความรับผิดชอบต่อตนเอง/หน้าที่2)ความรับผิดชอบ ต่อผู้อื่น 3)ความรับผิดชอบต่อสังคม/วิชาชีพ ความเที่ยงแบบความ สอดคล้องภายในโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .880 การตรวจสอบคุณภาพตามทฤษฎีการทดสอบแบบ ดั้งเดิม (CTT) พบว่า อำนาจจำแนก (r) มีค่าระหว่าง .375 -.546 ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) พบว่า พารามิเตอร์อำนาจ จำแนก (a) มีค่าระหว่าง 0 .93-1.69 ความยาก (b) มีค่าระหว่าง-0.92 ถึง-0.25 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยืน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์คะแนนจุดตัดที่กำหนดด้วยวิธีบุ๊คมาร์คมีค่าเท่ากับระดับความสามารถ (theta)–0.40 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมีความเที่ยงและความตรงสามารถประยุกต์ใช้ในการวัดประเมินผลความรับผิดชอบของ นักศึกษาพยาบาลได้

Development Responsibility Scale for Nursing Student (RSN)

Responsibility is an essential of attributes in nursing professional according to Thai Qualifications Framework or another countries. The purpose of this study were as follows: 1) to develop model and instrumentofundergraduatenursing student’Responsibility.2) totest psychometric propertyofaninstrument. 3) to determine standard setting for this scale. The participants 1,106 senior undergraduate nursing student from 18 universities by multistage random sampling were test psychometric property. This instrument seek to improve on Computer Multimedia test. The study was divided into 3 phases; model and instrument development, psychometric test and determine standard setting. The statistical analysis was conducted by descriptive statistics, item analysis, reliability and validity. The result indicated that RNS consists of 3 domains: PersonalResponsibility,Responsibilityto Others,Socialand ProfessionalResponsibility.Thevalueof Cronbach s alpha was .880. In addition item analysis based on CTT show that discrimination (r) supported the quality of scale between .375 -.546. According to IRT the value of discrimination (a) between 0.93-1.69 and difficulty parameter (b) -0.92 to -0.25. Finally, confirmatory factor analyses confirmed that Responsibility model was fit quite well with empirical data. The standard setting was determined by Bookmark method was as the theta -0.40.TheRNS was found to bereliabilityand validity whichanappropriatetheoretically.Thus, this scaleshould be apply for evaluate this attributes in nursing education.

Downloads

How to Cite

1.
ธนะบุญปวง ป, สุชีวะ ศ, ภาษีผล โ. การพัฒนาแบบวัดความรับผิดชอบของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Aug. 21 [cited 2024 Mar. 28];18(2):212-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/96867