ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองของเด็กวัยรุ่น ต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Keywords:
การกำกับตนเอง, วัยรุ่น, เทคโนโลยีสารสนเทศ, self-regulation, self-efficacy, Adolescent, Information TechnologyAbstract
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองของเด็กวัยรุ่นต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุม พฤติกรรมการใช้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิดมีกลุ่มเดียว วัดก่อน- หลังการทดลอง (One group pre-post test) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เพศหญิงและชายที่ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขตที่ 4 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน โดยวิธีการ คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Pair t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ผลการวิจัยพบว่าหลังการเข้าโปรแกรมการกำกับตนเอง กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการให้ความรู้แก่เด็กวัยรุ่น ให้มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับ การควบคุมพฤติกรรมตนเองต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง ตลอดจนบิดา มารดาและ ผู้ปกครองที่จะช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้เด็กวัยรุ่นมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างถูกต้องต่อไป
Effect of self-Regulation Program on Self-Efficacy Toward Control on Information Technology Using among Adolescents
The objectives of this research were to study an effect of self-regulation program on self-efficacy toward control on Information Technology Using among adolescents. The study was a one group pre-post test by quasi-experimental research. A sample of 60 cases were draw from high school students on Information Technology Using, under the secondary education Service by purposive sampling during July- December 2016. Data were analyzed by Pair t-test. These findings indicated that the samples significantly increased self-regulation on Information Technology Using (p = .01). These researchfindings can beused as a guideline for activities educating planning inadolescents, to have self-efficacy toward controlonInformationTechnology Using,not affect totheirhealthincluding parents and guardians but to encourage self-efficacy’s adolescent control on Information Technology Using correctly.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.