ความสัมพันธ์ระหว่างความหวัง การเห็นคุณค่าในตนเอง กับการรับรู้ด้านจิตวิญญาณของผู้ติดสารเสพติดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • นริสา วงศ์พนารักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปานรดา บุญเรือง โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น

Keywords:

ความหวัง, การเห็นคุณค่าในตนเอง, การรับรู้ด้านจิตวิญญาณ, Hope, Self-esteem, Perceptions of Spiritual, Dimension

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1)การรับรู้ความหวังการรับรู้การเห็นคุณค่าในตนเองและการรับรู้ด้านจิตวิญญาณ ของผู้ติดสารเสพติด 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความหวัง การรับรู้การเห็นคุณค่าในตนเอง กับการรับรู้ด้านจิตวิญญาณของ ผู้ติดสารเสพติด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดสารเสพติด จำนวน 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความหวัง 3) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง และ 4) แบบสอบถาม การรับรู้ด้านจิตวิญญาณของผู้ติดสารเสพติด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 .79 .89 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความหวังในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 36.67, SD = 5.54) การรับรู้การเห็นคุณค่า ในตนเองในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 30.31, SD = 4.48) และการรับรู้ด้านจิตวิญญาณในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 80.90, SD = 10.44) และพบว่าการรับรู้ความหวัง การรับรู้การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำกับการรับรู้ด้าน จิตวิญญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r = .36และ r = .34ตามลำดับ, ที่ระดับ .05)ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ทีมสุขภาพ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ติดสารเสพติดควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความหวังและการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยจัดให้มีกิจกรรมที่ช่วยให้เพิ่มความหวังและการเห็นคุณค่าในตนเองซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ด้านจิตวิญญาณ อันเป็นมิติด้านสุขภาพ มิติหนึ่งที่สำคัญของการดูแลผู้ติดสารเสพติดแบบองค์รวม

Relationships among Hope, Self-Esteem, and the Perceptions of Spiritual Dimension of People with Drugs Dependence in the Northeastern Region of Thailand

The purposesof this study wereto describe1) the perceptionsofhope, the perceptionsof self-esteem, and the perceptions of spiritual dimension and to explore 2) the relationships among perception of hope, perception of self-esteem, and perception of spiritual dimension of persons with drug dependence in the northeastern region of Thailand. The Simple was 355 participants into the study. Research instruments included 1) demographic questionnaire 2) the Herth Hope Index (HHI) 3) the Self-Esteem Scale, and 4) the perceptionsof spiritual dimension.Thereliabilitiesof theseinstruments were.81.79.89respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson product moment correlation. The results showed that the participants perceived hope at a high level ( = 36.67, SD = 5.54) self-esteem at a moderate level ( = 30.31, SD = 4.48) and the perceptions of spiritual dimension at a high level ( = 80.90, SD = 10.44). The perceptions of hope and the perception of self-esteem had a statistically significant positive correlations at low level with the perceptions of spiritual dimension (r = .36 and r = .34 respectively, p < .05). Results indicate that healthcare provider team should develop program or activities to promote hope and self-esteem for persons with drugs dependence to increase the perceptions of spiritual dimension for holistic care.

Downloads

How to Cite

1.
วงศ์พนารักษ์ น, บุญเรือง ป. ความสัมพันธ์ระหว่างความหวัง การเห็นคุณค่าในตนเอง กับการรับรู้ด้านจิตวิญญาณของผู้ติดสารเสพติดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Aug. 21 [cited 2024 Nov. 19];18(2):47-54. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/96836