การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
Keywords:
Diabetic clinic service model, Lean concept, Chaoprayayomraj Regional HospitalAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรีและ 2) เปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบบริการคลินิกเบาหวานที่พัฒนาขึ้นกับรูปแบบเดิมในด้าน (1) ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของคลินิกเบาหวาน (2) ระยะเวลาการใช้บริการ(3) คุณค่าของสายธารการให้บริการตามการรับรู้ของผู้ป่วย และ (4) คุณภาพการบริการที่มีการลดความสูญเปล่าจากการใช้บริการครั้งแรกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารบั บริการทีค่ ลินิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 62 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนพัฒนารูปแบบ 2) ระยะพัฒนารูปแบบ และ 3) ระยะทดลองใช้รูปแบบและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)รูปแบบการบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนที่พัฒนาขึ้น 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน 3) แบบบันทึกเวลาการใช้บริการคลินิกเบาหวานและ 4) นาฬิกาสำหรับจับเวลาที่เทียบกับเวลามาตรฐานของกรมประชาสัมพันธ์ ความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของผู้ป่วยคลินิกเบาหวานมีค่าระหว่าง 05-1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐานส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ และสถิติทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกันผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการบริการคลินิกเบาหวานประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนที่พัฒนาขึ้นมีขั้นตอนการรับบริการลดลงจาก 16 ขั้นตอนเหลือ 6 ขั้นตอนมีแนวทางและคู่มือการให้บริการของทีมสุขภาพที่เน้นคุณภาพการบริการมากขึ้น2) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจสูงกว่ารูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดย (1) ด้านระยะเวลาการใช้บริการลดลงน้อยกว่ารูปแบบเดิม โดยระยะเวลาการใช้บริการที่สั้นที่สุดลดลงจาก 106 นาทีเป็น 47 นาที และระยะเวลาที่ยาวที่สุดลดลงจาก 434 นาทีเป็น 168 นาที (2) คุณค่าสายธารการให้บริการตามการรับรู้ของผู้ป่วยสูงกว่ารูปแบบเดิม โดยมีค่าต่ำที่สุดจาก 2.07% เพิ่มเป็น 10.12% และค่าสูงสุดจาก 44.34% เพิ่มเป็น 89.36% และ (3) คุณภาพการบริการที่มีการลดความสูญเปล่าจากการใช้บริการครั้งแรกสูงกว่ารูปแบบเดิม โดยจาก 29.07%เพิ่มเป็น 85.02%
The Development of a Diabetic Clinic Service Model by Applying Lean Concept at Chaoprayayomraj Regional Hospital, Suphan Buri Province
The purposes of this research and development were: 1) to develop a diabetic clinic service model by applying lean concept at Chaoprayayomraj Regional Hospital, SuphanBuri Province. 2) to compare the effects of using the developed service model to the previous one as the following aspects: (1) patients’ satisfaction with quality of service, (2) service duration, (3) patient’s value stream (PVS),and (4) first time quality (FTQ). The sample comprised 62 patients who received the diabetic clinic service at theOut-patient Department of Chaoprayayomraj hospital and were selected by purposive sampling. The study process was divided into three phases: 1) pre-development of the new service model, 2) development of the new service model, and 3) application and evaluation of the new model. The instruments consisted of 4parts: 1) the development of a diabetic clinic service model with applying the lean concept, 2) patients’ satisfaction questionnaires, 3) a record form of service duration in diabetic clinic service, and 4) a digital stopwatch calibrated by standard time of the Public-relations Department. The content validity of the second tool was between 0.5-1.00, and its reliability was 0.96. Research data were analyzed by descriptive statistics (frequency, percentage, mean, standard deviation, median. quartile deviation), and paired t-test. The research findings were as followed. 1) After applying the developed diabetic clinic service model, steps of working was decreased (from 16 to 6 steps).Moreover, guidelines and a manual of the healthcare team performances which focus on providing better quality care were established. 2) Patients’ satisfaction with the new model was significantly higher than the formal one (p< 0.01) as follows. (1) The service duration of the new model was dramatically less than the former model i.e. the shortest duration decreased from 106 minutes to 47 minutes, and the longest one reduced from 434 minutes to 168 minutes. (2) PVS the new model increased more than the formal one with the lowest value from 2.07% to 10.12% and the highest from 44.34% to 89.36%. (3) FTQ also raised more than the previous one from 29.07% to 85.02%.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.