การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมพยาบาลวิชาชีพ เข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเอกชน

Authors

  • กัญญารัตน์ จูงพิริยะพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กัญญดา ประจุศิลป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง, พยาบาลวิชาชีพ, หัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลเอกชน, ความมั่นใจในการปฏิบัติ, บทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วย, nurse mentorship model, professional nurses to be head nurse position, self-confidence of head nurse role

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมพยาบาลวิชาชีพเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลเอกชน โดย 1) สังเคราะห์รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงฯ 2) ศึกษาประสิทธิผลจากความมั่นใจในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ และ 3) ประเมินรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงฯ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพยาบาลพี่เลี้ยงจำนวน 8 คน และพยาบาลวิชาชีพของแต่ละหอผู้ป่วยจำนวน 8 คน ในโรงพยาบาลสมิติเวช ทดลองใช้และประเมินรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ คู่มือพยาบาลพี่เลี้ยงฯ แผนการสอนรายสัปดาห์ และโครงการอบรมพยาบาลพี่เลี้ยงฯ เครื่องมือที่ใช้กำกับการทดลองคือ แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลพี่เลี้ยง และแบบประเมินความรู้ของพยาบาลพี่เลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินความมั่นใจในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ และข้อคำถามนำในการสนทนากลุ่ม ซึ่งสร้างโดยผู้วิจัยและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินความรู้ของพยาบาลพี่เลี้ยง และแบบประเมินความมั่นใจในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลจากค่าเฉลี่ยของคะแนนความมั่นใจในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงฯ ประกอบด้วย การเตรียมพยาบาลพี่เลี้ยง กิจกรรมการเตรียมพยาบาลวิชาชีพเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย และการประเมินผลกิจกรรมพยาบาลพี่เลี้ยง2. หลังการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงฯ พยาบาลวิชาชีพมีระดับความมั่นใจในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.72, SD = 0.09)

Development of nurse mentorship model for professional nurses to be head nurse position, private hospital

The purposes of this research and development study were: 1) to synthesize nurse mentorship model in preparation for professional nurses to be head nurse position, 2) to study effectiveness of selfconfidence of head nurse role, and 3) to evaluate effect after using nurse mentorship model. Participants were head nurses who were mentored nurses and 8 professional nurses from the same ward as mentored nurses for being nurse mentorship model at Samitivej Srinakarin Hospital. The instruments for the test included mentor handbook, mentor weekly plan, and mentor training project. The instruments for supervision test included mentor activity’s record and mentor learning’s evaluation form. Research data was obtained from professional nurse’s self- confidence form and group questionnaires. All instruments were tested for validity by groups of experts. Data was tested and analyzed after using nurse mentorship model for preparing professional nurses to be promoted to head nurse position. Major findings were as follows : 1. Nurse mentorship model which was consisted of preparing for nurse mentor, activities for preparing profession nurse to be head nurse and evaluation of activities. 2. After using nurse mentorship model for preparing professional nurses to be promoted to head nurse position, professional nurses had shown high level of their confidential on head nurse roles performance. ( = 3.72, SD = 0.09)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
จูงพิริยะพงษ์ ก, ประจุศิลป ก. การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมพยาบาลวิชาชีพ เข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเอกชน. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Dec. 19];18(suppl.1):261-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90438