ผลของโปรแกรมการใช้จิตอาสาในการสนับสนุนทางสังคม ต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชราของภาครัฐ

Authors

  • รพีพรรณ สารสมัคร คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิริพันธุ์ สาสัตย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความว้าเหว่, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้สูงอายุ, โปรแกรมใช้จิตอาสา, loneliness, social support, older person, public mind program

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้จิตอาสาในการสนับสนุนทางสังคมต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราของภาครัฐ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิงที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านมหาสารคาม จ. มหาสารคาม และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ (โพธิ์กลาง) จ. นครราชสีมาที่มีระดับความว้าเหว่ปานกลางถึงสูง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน (matched pair)ในด้าน อายุ เพศ ระดับความว้าเหว่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของสถานสงเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการใช้จิตอาสาในการสนับสนุนทางสังคมแบบสอบถามส่วนบุคคล แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย แบบวัดความว้าเหว่ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สถิติ Cronbach’s Alpha โดยใช้วิธี Test-retest แบบวัดความว้าเหว่และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าทีโดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมการใช้จิตอาสาในการสนับสนุนทางสังคมต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราของภาครัฐมีความว้าเหว่ลดลงกว่าก่อนได้เข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมการใช้จิตอาสาในการสนับสนุนทางสังคมต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราของภาครัฐมีความว้าเหว่ลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

The Effect Of Public Mind Social Support Program On Loneliness In Older Persons Resided In Public Welfare Home For The Aged

The quasi experimental research with two group pretest-posttest design aimed to study the effects of public mind social support program on loneliness in older persons with moderate to high loneliness resided in public welfare home for the aged. The participants consisted of both male and female older persons resided in public welfare home in Mahasarakham province and Nakhonratchasima province. The purposive sampling consisted of 40 older persons and random assignment to control and experiment group with similar characteristics in terms of age, gender and level to loneliness. The experimental group underwent a social support program and the control group received conventional care. Public mind social support program was performed once a week for 6 weeks. The instruments were social support program, demographic questionnaire, Mini-Mental State Examination Thai version 2002 and Loneliness scale. The reliability of loneliness scale and social support questionnaire were .87 and .94 respectively. The data were analyzed using mean, percentage, standard deviation, and t-test. The significant difference was set at the .05 level. The research results were summarized as follows participants in experiment group after participating in public mind social support program had statistically significant lower loneliness than before participating the program. And participants in experiment groups who participated in public mind social support program had statistically significant lower loneliness than the control groups who received conventional care.

Downloads

How to Cite

1.
สารสมัคร ร, สาสัตย์ ศ. ผลของโปรแกรมการใช้จิตอาสาในการสนับสนุนทางสังคม ต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชราของภาครัฐ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Nov. 15];18(suppl.1):251-60. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90436