ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ

Authors

  • อัจฉรา สาระพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐกฤตา ศิริโสภณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สมบัติ อ่อนศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บุญเลิศ อุทยานิก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐพงศ์ สุโกมล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

การป้องกันการหกล้ม, ผู้สูงอายุ, a Fall Prevention, Elderly

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ใน เขตเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลด้านชีวภาพ การรับรู้ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การรับรู้ความรุนแรงของการหกล้ม การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการหกล้ม การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการหกล้ม สิ่งชักนำสู่การปฏิบัติต่อการป้องกันการหกล้ม การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้ม และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการหกล้ม การรับรู้ความรุนแรงของการหกล้ม การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการหกล้ม การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการหกล้มการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้ม สิ่งชักนำสู่การปฏิบัติต่อการป้องกันการหกล้ม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Factors Ralated to a Fall Prevention Behaviors of Elderly

This research is Descriptive research. Sample are 380 elderly people in Tambom Bangsrimung, Amphoe Muang, Nonthaburi province. Questionnaires developed by the researcher were used as an instrument in this study. Descriptive statistics namely percentage, mean, standard deviation was used to analyze the data and Pearson’s Product Moment Correlation used to analyze the relationship between the variables. The major findings were as follow: The factors perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barrier, Induce of action prevention and self-efficacy to prevent relationship wish to prevention of falls in elderly at .01 statistical significant level.

Downloads

How to Cite

1.
สาระพันธ์ อ, ศิริโสภณ ณ, กายนาคา ป, อ่อนศิริ ส, อุทยานิก บ, ธีรเวชเจริญชัย ส, สุโกมล ณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Nov. 15];18(suppl.1):215-22. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90344